ระวังจะคิดไปเอง! ใกล้ชิดได้ แต่ติดอยู่ที่ “Friend Zone”

Busba1122 profile image Busba1122

 

มนุษย์ทุกคนมี “พื้นที่ส่วนตัว” หรืออาจจะเรียกว่า “จักรวาลส่วนตัว” ก็ยังได้ เป็นพื้นที่ที่ไม่อนุญาตให้ใครเข้ามารุกล้ำโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งโดยปกติแล้ว เราจะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในการวัดพื้นที่รอบ ๆ ตัวเสมอ เล่นเกมได้เงิน โดยระยะห่างที่สั้นที่สุดที่มนุษย์เราจะสงวนไว้ไม่ให้คนที่ไม่สนิทเข้าใกล้ จะอยู่ที่ประมาณ 1 ช่วงแขน กางออกแล้ววาดรอบตัวเหมือนวงเวียน ซึ่งก็คือประมาณ 45-60 เซนติเมตรนั่นเอง พื้นที่ส่วนตัว (Personal space) ในทางมนุษยวิทยา คือ ช่องว่างระหว่างบุคคลแต่ละคนในสังคม ถือเป็นอาณาเขตส่วนตัวของคนแต่ละคน อย่างไรก็ตาม ระยะห่างนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ความสนิทสนมในความสัมพันธ์ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เติบโตมา ด้วยระยะห่างที่มนุษย์เราสร้างขึ้นนี้เกิดเป็น ทฤษฎี 45.7 เซนติเมตร เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องของระยะห่างระหว่างบุคคล ซึ่งหากเราเริ่มยินยอมให้ใครสักคนเข้าใกล้พื้นที่ประมาณ 45.7 เซนติเมตรที่ว่า นั่นแปลว่าเขาอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลของเราแล้วก็ได้ ทฤษฎี 45.7 เซนติเมตร คืออะไร? ทฤษฎี 45.7 เซนติเมตร (Proxemic Theory, 1966) เป็นทฤษฎีของเอ็ดเวิร์ด ฮอลล์ (Edward T. Hall) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ได้เสนอว่า การที่มนุษย์เว้นระยะห่างระหว่ างกันนั้น ถือเป็นอวัจนภาษารูปแบบหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน สังเกตได้ง่าย ๆ คือ การที่เราจะเว้นเก้าอี้อย่างน้อย 1 ตัว เมื่อต้องเข้าไปนั่งร่วมกับบุคคลอื่น หากมีเก้าอี้ว่างเหลือเยอะ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะเว้นเก้าอี้มากกว่า 1 ตัว ซึ่งความหมายของพฤติกรรมนี้ก็คือ “อย่าเข้ามาใกล้ฉัน” ดังนั้น หากไม่มีข้อจำกัดเรื่องของสถานที่ น้อยคนมากที่จะเลือกนั่งเก้าอี้ติดกับผู้อื่น เมื่อมีการเว้นระยะห่าง ฮอลล์จึงได้แบ่งระยะห่างระหว่าง บุคคลออกเป็น 4 ระยะ 1. ระยะใกล้ชิด (Intimate Distance) เป็นระยะที่ใกล้ที่สุด มีระยะห่างประมาณ 0-15 เซนติเมตร ในระยะนี้เป็นระยะที่มนุษย์เราสามารถสื่อสารกันได้อย่างใ กล้ชิด การใช้ภาษาในระดับกันเอง  มีภาษากายในการสัมผัสใกล้ชิดกัน โดยระยะนี้จะเป็นระยะเฉพาะคนพิเศษ เช่น คู่ รัก สมาชิกในครอบครัว เพื่อนที่สนิทกันมาก ๆ หรือในเ หตุการณ์เฉพาะอย่าการเล่นกีฬาบางประเภทที่ต้องอยู่ในระยะประชิดตัว อย่างไรก็ตาม ระยะใกล้ชิดยังสามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัดบางอย่าง โดยเฉพาะข้อจำกัดของสถานที่ ในกรณีที่เราจำเป็นจะต้องอยู่ในระยะใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า เช่น การยืนเบียดกันบนรถโดยสารสาธารณะ การนั่งเก้าอี้รอคิวในการติดต่อธุระบางอย่าง จะเห็นได้ว่าไม่ว่ารถจะแน่นขนาดไหน เราจะพยายามสร้างพื้นที่ว่างไว้เสมอแม้จะเพียง 1 เซนติเมตรก็ตาม เพื่อไม่ให้คนแปลกหน้าสัมผัสตัว หรือถ้ามีโอกาส เราจะเลือกย้ายที่นั่งให้ห่างจากคนอื่น 2. ระยะส่วนตัว (Personal Distance) เป็นเขตป้องกันตัวระย ะใกล้ มีระยะประมาณ 45-60 เซนติเมตร ในระยะนี้เองที่ต่อให้สนิทในระดับหนึ่ง แต่ยังมี “เส้นบาง ๆ กั้นระหว่างเราสอง” ปกติแล้ว ระยะนี้เป็นระยะที่เราใช้กับเพื่อน หรือคนที่สนิทสนมกันในระดับหนึ่ง สามารถเอื้อมมือถึงกันไ ด้ ยังสัมผัสกันและกันได้ พูดคุยกันด้วยระดับเ สียงปกติ แต่ยังคงรักษาระยะห่างไว้ ใครที่จะเข้าใกล้กว่านี้ จะต้องได้รับการยินยอมจากเราก่อน 3. ระยะสังคม (Social Distance) เป็นระยะที่ใช้กับผู้ที่ ไม่คุ้นเคย ระยะห่างประมาณ 2-3.5 เมตร เป็นระยะที่ใช้พูดคุยทางสัง คมและหรือติดต่อกันในลักษณะที่ไม่สามารถเอื้อมมือถึงก ันได้ ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาที่เ ป็นทางการมากขึ้น การแสดงกิริยาท่าทางจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมารยาททางสังคม อาจใช้เสียงที่ดังขึ้น เพราะอยู่ห่างกัน 4. ระยะสาธารณะ (Public Distance) มักเป็นการสื่อสารทาง เดียว ระยะห่างประมาณ 3.5 เมตรขึ้นไป อย่างการปรากฏตัวในที่สาธาร ณะ มีความสุภาพสูง ใช้ภาษาระดับทางการ และต้องใช้เสียงพูดดังขึ้นไ ปอีก เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การปราศรัยในที่สาธารณะ เป็นต้น ผลของการมีระยะห่างต่อกัน จากการเว้นระยะห่างตามทฤษฎี เมื่อเราต้องเข้าไปอยู่ในที่ที่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ จะทำให้เรารู้สึกอึดอัดเมื่อต้องอยู่ในที่ที่คนเยอะ ๆ หรือเบียดเสียดกัน การที่มีคนแปลกหน้าเข้ามาประชิดตัวหรือกำลังถูกคุกคาม โดยสมองของเราจะเริ่มสั่งการให้เข้าสู่โหมด “ระวังภัย” รวมไปถึงความไม่พอใจ (แม้แต่กับคนรู้จัก) เมื่อใครก็ตามรุกล้ำเข้ามาในอาณาเขตส่วนตัวของเรา หรือเข้ามาวุ่นวายกับข้าวของส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

alexra Icon Richard Mille RM037 Rose Gold diamond White Rubber อ่าน 50 1 ปีที่ผ่านมา
1 ปีที่ผ่านมา
miniming Icon พบช่องโหว่ใหม่บน Bluetooth Low Energy ‘BLESA’ อ่าน 177 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
miniming Icon Review – Lenovo IdeaPad Gaming 3 สเปก Ryzen 4000H อ่าน 266 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา