ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร หาสาเหตุการปวดกระเพาะ ป้องกันโรคร้าย

nonsachii profile image nonsachii

     หลายท่านมีอาการปวดท้องอยู่บ่อย ๆ แต่อาจจะไม่ได้ปวดมาก คิดว่าคงเป็นโรคกระเพาะ กินยาไปเดี๋ยวก็หาย ฟังดูแล้วเหมือนจะไม่ร้ายแรง บางคนก็อาจจะใช้ชีวิตอยู่กับอาการปวดท้องจนเคยชิน หิวข้าวก็ปวดท้อง กินอิ่มแล้วก็ยังปวดท้องอีก ด้วยภาวะสังคมที่เร่งรีบและชีวิตประจำวันที่วุ่นวาย หลายคนจึงปล่อยปละละเลย ทำให้เกิดพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้ คุณเคยคิดไหม ว่าโรคในกระเพาะอาหารอาจร้ายแรงกว่าที่คุณคิด การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร จึงเป็นอีกวิธี ที่ใช้ตรวจหาความผิดปกติของกระเพาะอาหารซึ่งเป็นวิธีตรวจที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

     การส่องกล้องจะทำให้เห็นเยื่อบุกระเพาะ เพื่อดูการอักเสบ ดูแผลในกระเพาะ ดูเนื้องอก นอกจากนั้นยังสามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา หาเซลล์มะเร็ง, เพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย ร่วมไปถึงการส่องกล้องเพื่อรักษาห้ามเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นได้

     การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (EGD) เป็นมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งเป็นการตรวจที่สามารถทำได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน และในโรคบางโรคแพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันที เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ทำให้ลดความจำเป็น และความเสี่ยงของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด

1.อาการปวดจุกแน่นท้องหรือแสบร้อนบริเวณท้องส่วนบน หน้าอก หรือบริเวณลำคอ
2.อาการท้องอืดท้องเฟ้อเหมือนอาหารไม่ย่อย
3.มีอาการเรอหรือคลื่นไส้อาเจียนบ่อย ๆ
4.อาการกลืนติด กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
5.อาการเจ็บคอ คอแห้ง เสียงแหบหรือไอบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ

     อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการแสดงอันเนื่องมาจากความผิดปกติของทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งได้แก่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนใหญ่เรามักจะคิดว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการรับประทานอาหารรสจัด รับประทานอาหารผิดประเภท หรือรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา แต่ในความจริงแล้วมีโรคทางเดินอาหารส่วนบนอีกมากที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเหล่านี้ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อนในหลอดอาหาร โรคหลอดอาหารอักเสบ โรคเนื้องอกในหลอดอาหาร หรือกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไล (Helicobacter pylori) ในกระเพาะอาหารยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และยังสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารได้ ดังนั้น การตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นย่อมส่งผลดีต่อการรักษา และสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลร้ายแรงได้

ข้อบ่งชี้ในการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
     1.ผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินอาหารส่วนบนดังกล่าวข้างต้นที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น ในกรณีที่พบแผล ในกระเพาะอาหาร แพทย์สามารถทำการตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อ (Tissue Biopsy) เพื่อแยกสาเหตุของการเกิดแผล รวมทั้งสามารถตรวจหาเชื่อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไล (Helicobacter pylori) ได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสารมารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องในกรณีพบติ่งเนื้องอกในทางเดินอาหารได้อีกด้วย
     2.ผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินอาหารส่วนบนร่วมกับการมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนภัย ได้แก่ ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี ท้องอืดท้องโตเป็นเวลานาน คลำได้ก้อนบนท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด กลืนอาหารติด กลืนลำบาก มีอาการอาเจียนบ่อยๆ มีประวัติครอบครัวของโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณเตือนภัยที่แสดงถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
     3.เพื่อตรวจติดตามการการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric Ulcer) เพื่อยืนยันการหายของแผล และช่วยขจัดข้อสงสัย สาเหตุของแผลที่อาจเกิดจากมะเร็งกระเพาะอาหาร และติดตามการหายของเชื้อแบคทีเรีย ฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล หลังได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อโรค
     4.ผู้ที่มีอาการถ่ายอุจาระเป็นสีดำ ถ่ายเป็นเลือดปนดำ หรือมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งบ่งบอกว่ามีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน (Upper Gastro Intestinal Bleeding: UGIB) การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบนสามารถให้การวินิจฉัยโรค และสามารถทำการรักษาห้ามเลือดได้ทันที
     5.เพื่อให้การรักษาในกรณีที่มีการกลืนสิ่งแปลกปลอมลงในหลอดอาหาร หรือกระเพาะอาหาร (Foreign Body) เช่น เหรียญ ถ่านแบคเตอร์รี เข็ม กระดูกสัตว์ กางปลา เป็นต้น
     6.เพื่อให้การวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงในกรณีที่มีการกลืนสารกัดกร่อน (Corrosive Ingestion) เช่น กรดหรือ ด่าง น้ำยาล้างห้องน้ำ
     7.เพื่อทำการรักษา แก้ไขภาวะตีบตันของทางเดินอาหาร (Stricture) อันเป็นผลมาจากเนื้องอกทางเดินอาหาร การเกิดแผลในทางเดินอาหาร หรือการตีบตันเป็นผลจากกลืนสารกัดกร่อน

การปฏิบัติตัวก่อนส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
     ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลถึงความจำเป็นในการตรวจ และประเมินความพร้อมก่อนการตรวจส่องกล้อง ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคเลือดหรือทานยาใดๆ อยู่ประจำหรือแพ้ยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

     กล้องส่องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscope) เป็นกล้องขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นสายยาว และมีกล้องติดอยู่ที่ปลายสายซึ่งกล้องจะถูกเชื่อมโยงด้วยสายใยนำแสงความละเอียดสูง และถูกถ่ายทอดไปยังจอภาพซึ่งแพทย์ สามารถที่จะดูการตรวจได้อย่างต่อเนื่อง

     ผู้รับการตรวจจำเป็นต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนเวลาส่องกล้อง และก่อนเริ่มตรวจส่องกล้องผู้รับการตรวจบางรายจะได้รับการพ่นยาชาที่บริเวณลำคอเพื่อป้องกันการระคายเคือง และกล้องจะถูกสอดผ่านทางปาก และลำคออย่างนุ่มนวลในท่าตะแคง เพื่อทำการตรวจอวัยวะสำคัญ 3 ส่วน คือ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยผู้ได้รับการตรวจจะได้รับยาคลายกังวล หรือยานอนหลับ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขณะได้รับการตรวจด้วย การตรวจส่องกล้องเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที หลังจากนั้น ผู้ได้รับการตรวจจะได้พักผ่อนในห้องพักฟื้น(Recovery Room) ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และสามารถทราบผลการตรวจส่องกล้องได้ในวันเดียวกัน

การปฏิบัติตัวหลังการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
- สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ และงดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง  
- อาจมีอาการระคายคอประมาณ 1-2 วัน หลังการส่องกล้อง ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้โดยกลั้วคอด้วยน้าเกลืออุ่น หรืออมยาอมเพื่อช่วยบรรเทาอาการระคายคอ
- อาจจะรู้สึกท้องอืด ปวดมวนท้อง หรือ มีแก๊ส ซึ่งเป็นอาการปกติ และการผายลมจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้
- ไม่ควรทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในช่วงวันที่ 1-2 หลังการส่องกล้อง (เช่น วิ่ง ยกของน้ำหนักมากกว่า 5 กิโลกรัม หรือ ขี่จักรยาน)
- แพทย์จะให้ยาผ่านทางเส้นเลือด หากบริเวณที่เจาะเส้นเลือดมีอาการเจ็บ แดง หรือบวม สามารถใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นวางบริเวณดังกล่าวประมาณ 15-20 นาที และทำวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน นอกจากนี้ การวางแขนบนหมอนหนุน จะช่วยให้อาการดังกล่าวลดลงได้ หากอาการดังกล่าว ไม่หายไปภายใน 2 วัน ควรปรึกษาแพทย์
- หากใช้ยา Aspirin หรือ Plavix หรือ NSAIDs (Ibuprofen (Motrin, Advil), Naprosyn, Indomethacin, Celebrex) เป็นประจำ กรุณาหยุดใช้ยาชั่วคราว และปรึกษากับแพทย์ทางเดินอาหารและตับ หรือแพทย์ที่สั่งยาให้ ก่อนที่จะกลับไปใช้ยาดังกล่าวอีก
- ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือ ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักรขนาดใหญ่ในช่วง 24 ชั่วโมง หลังส่องกล้อง

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพบแพทย์ทันที
- เจ็บหน้าอกหรือปวดท้องรุนแรง  
- อุจจาระเป็นสีดำเข้ม และ/หรือ อาเจียนเป็นเลือด
- มีลิ่มเลือดสีแดงสด หรือลิ่มเลือดจานวนมากออกมาทางทวารหนัก
- หนาวสั่นหรือมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส

     อาการปวดท้อง อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่จะตามมาได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรละเลย หากมีอาการที่ยังไม่รุนแรงก็สามารถรักษาโดยการรับประทานยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังข้างต้นแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนหรือตรวจกระเพาะอาหาร เพื่อหาสาเหตุและรับรักษาอย่างถูกต้อง ทันท่วงที และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้อีก

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน-Esophagogastroduodenoscopy-EGD

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

oatgames Icon กล่องแบบเข้ามุม 45 องศา อ่าน 2 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา
14 ชั่วโมงที่ผ่านมา
clubphone Icon รับซื้อ Samsung​ Galaxy S24 Ultra อ่าน 5 1 วันที่ผ่านมา
1 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องของขวัญจากงานไม้ อ่าน 4 1 วันที่ผ่านมา
1 วันที่ผ่านมา
1 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สนแบบฝาครอบ อ่าน 9 2 วันที่ผ่านมา
2 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สนแบบฝาล็อค 1 อ่าน 10 6 วันที่ผ่านมา
6 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon แผ่นป้ายสแกนจ่าย QR Code อ่าน 12 7 วันที่ผ่านมา
7 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สีมะฮอกกานี อ่าน 10 8 วันที่ผ่านมา
8 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องฝาสไลด์ดึงขึ้นด้านบน อ่าน 13 9 วันที่ผ่านมา
9 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องใส่องค์พระพุทธรูป สีสัก อ่าน 14 11 วันที่ผ่านมา
11 วันที่ผ่านมา
12 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องใส่องค์พระพุทธรูป อ่าน 18 13 วันที่ผ่านมา
13 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon กล่องไม้สนแบบฝาล็อคอครีลิคใส อ่าน 16 14 วันที่ผ่านมา
14 วันที่ผ่านมา
oatgames Icon ถาดไม้ขนาดเล็ก อ่าน 15 15 วันที่ผ่านมา
15 วันที่ผ่านมา