เทคนิคการถ่ายภาพพลุ

cdvboard profile image cdvboard
เทคนิคการการถ่ายภาพพลุ
เทคนิคการถ่ายภาพพลุ นั้น ไม่ว่าใช้กล้องอะไรก็เหมือนๆ กัน จะมีที่ต่างกันบ้างก็เพียงลักษณะการทำงานของตัวกล้องเอง กล้องดิจิทัลจะมีข้อจำกัดมากกว่ากล้องที่ใช้ฟิล์มในบางประการ อันได้แก่ ตัวเลขเอฟที่แคบที่สุดจะน้อยกว่า เช่นอาจมีแค่ f/8 หรือ f/11 เท่านั้นขณะที่กล้องใช้ฟิล์มส่วนใหญ่จะอยู่ที่ f/16 หรือ f/22 อีกประการหนึ่งคือกล้องดิจิทัลระดับคอนซูมเมอร์ (consumer) หรือ โปร



ซูมเมอร์(prosumer)ส่วนใหญ่มักจะไม่มีความเร็วชัตเตอร์ B มาให้ ดังนั้นการถ่ายภาพพลุให้ได้ดีค่อนข้างยากกว่าพอสมควร

หลักการถ่ายภาพพลุ

การ ถ่ายภาพพลุก็มีหลักเหมือนการถ่ายภาพทั่วไปคือ ตัวรับแสงควรได้รับแสงในปริมาณที่พอเพียง แต่เนื่องจากพลุมักจุดในเวลาค่ำคืนดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์จึงมีความสำคัญน้อยมาก สิ่งที่ควบคุมความสว่างหรือมืดของภาพอยู่ที่เอฟนัมเบอร์เป็นหลัก ระยะเวลาในการเปิดปิดชัตเตอร์นั้นมีผลต่อจำนวนพลุที่จะปรากฏในภาพ หากใช้เวลาน้อยๆ ก็ได้จำนวนน้อย หากใช้เวลานานก็ได้จำนวนมาก อย่างไรก็ดีถ้านานเกินไป ภาพพลุก็จะซ้อนกันจนเกิดเป็นภาพ over ได้ และเนื่องจากต้องถ่ายภาพในเวลากลางคืนขาตั้งกล้องมีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล้องควรยึดอยู่บนขาตั้งกล้องที่มีความแข็งแรงเพียงพอ

การเลือกเอฟนัมเบอร์

เอฟนัมเบอร์ที่เหมาะสมขึ้นกับปัจจัยหลายประการคือ

1. ความสว่างของพลุ พลุแต่ละลูกมีความสว่างแตกต่างกัน พลุที่สว่างมากก็ต้องเปิดหน้ากล้องให้แคบกว่าพลุที่สว่างน้อย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจริงเป็นไปได้น้อยมาก เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าพลุลูกไหนจะสว่างมากหรือน้อย ทั้งนี้เราไม่ต้องกังวลมากนักกับความสว่างของพลุที่ต่างกัน เพราะพลุเป็นแต่แสงสี ที่เคลื่อนที่ ไม่มีโทน(tone) ไม่มีรายละเอียด ดังนั้นเพียงแต่เลือกเอฟนัมเบอร์ที่พอบันทึกภาพให้เห็นสีที่ไม่มืดหรือสว่าง จนเป็นสีขาวก็ถือว่าเป็นภาพที่ดีแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง f8-f16

2. ความไวแสงของ CCD หรือ ISO speed หากเราตั้งความไวแสงของกล้องให้มีค่ามากเช่น 200 หรือ 400 ก็จะทำให้ต้องใช้หน้ากล้องแคบลง แต่เนื่องจากจะมี noise เกิดขึ้นบนภาพ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงความไวแสงสูงๆ และควรตั้งค่าต่ำที่สุดที่กล้องมีให้ เช่นที่ 100 หรือ 50 เป็นต้น

3 ระยะทาง หากกล้องอยู่ห่างจากพลุมาก ก็ควรเปิดหน้ากล้องให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ inverse square law หรือ กฏผกผันกำลังสอง กล่าวคือหากระยะทางจากแหล่งกำเนิดแสงอยู่ห่างไปจากเดิมหนึ่งเท่า ปริมาณแสงจะลดลงสองเท่า นั่นคือหากเราถ่ายภาพพลุด้วยระยะห่าง 100 เมตรด้วย f/11 แต่ถ้าอยู่ห่างออกไป สองร้อยเมตร ควรใช้ f/8 การเลือกชัตเตอร์สปีด ควรใช้ชัตเตอร์ B แต่ถ้ากล้องที่ใช้ไม่มีให้ก็ควรใช้ความเร็ว ประมาณ 2-8 วินาที ขึ้นกับว่า ช่วงเวลานั้นๆ พลุถูกจุดด้วยความถี่มากหรือน้อย


เทคนิคการถ่ายภาพ

สำหรับ กล้องที่มีชัตเตอร์ B ก็ควรพกกระดาษแข็งสีดำไปด้วย แล้วใช้เปิดปิดหน้ากล้องเพื่อเลือกบันทึกแสงจากพลุลูกใดลูกหนึ่งหรือหลายๆ ลูกไปในเฟรมเดียวกัน หากต้องการภาพพลุเพียงลูกใดลูกหนึ่ง ควรสังเกตจุดที่เป็นบริเวณที่วางพลุ  หากเห็นแสงหรือควันไฟพุ่งออกมาแสดงว่า พลุได้ถูกจุดแล้ว ซึ่งเราต้องรีบดึงกระดาษดำออกเพื่อบันทึกภาพ พอหมดแสงพลุลูกนั้นก็ต้องรีบปิดกระดาษ หรือ ปิดชัตเตอร์ กรณีนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่ออยู่ในทำเลที่ดีมากๆ และพลุไม่ถูกจุดพร้อมๆ กัน เท่านั้น

ภาพด้านล่่างนี้เป็นภาพที่ผมถ่ายงานแสดงพลุในประเทศ ญี่ปุ่น อันที่จริงแล้วภาพพลุอย่างเดียวเป็นภาพที่น่าสนใจน้อยกว่า ภาพพลุที่มีแสงจากอาคารบ้านเรือน ประกอบอยู่ในภาพด้วย ภาพแสงไฟจากตึกสวยๆ สะพานโค้ง และอื่นๆ จะทำให้ภาพดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วหลังพระอาทิตย์ตกดินไม่นานนัก ท้องฟ้ายังมีแสง สนธยาลางๆ ให้เห็นก็จะยิ่งสร้างบรรยากาศให้น่าดู น่าชม

 


ข้อมูลจาก : fotofile.net


ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

cdvboard Icon เทคนิคแต่งภาพสไตล์โลโม (LOMO) อ่าน 3,537 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon การถ่ายภาพ กับ การแต่งภาพ Portrait 1 อ่าน 4,801 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean - Composition อ่าน 7,461 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon เทคนิคการถ่ายภาพพลุ อ่าน 2,721 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon กฎสามส่วน (Rule of Third) อ่าน 2,062 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น อ่าน 9,792 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา