การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean - Composition

cdvboard profile image cdvboard
การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean - Composition

นับเป็นหลักการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพยอดฮิตวิธีหนึ่ง ซึ่งเรามักจะรู้จักกันในนาม rule of third นั่นเอง
(เนื่องจากบรรดาตำราเกี่ยวกับการถ่ายภาพทั้งหลายมักจะแนะนำกัน รวมทั้งบรรดานักถ่ายภาพทั้งหลายมักจะนิยมนำหลักการถ่ายภาพแบบนี้ไปใช้กันนักหนา นั่นแหละ)

หลักการดังกล่าว ก็คือ การใช้จุดตัดเก้าช่อง นั่นเอง กล่าวคือ โดยการแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
หลังจากนั้นจึง "กำหนดวางภาพ" ตรงจุดตัดนั้น (ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็คือ จะเป็นวางภาพในสัดส่วน "สองจากสาม" (2:3)นั่นเอง)

"โดยนัยจริงๆ แล้ว rule of third นั้นก็เอามาจาก golden mean นั่นเอง"

ขอแซมเกร็ดย่อย ตี้สส์ นึง 

สัดส่วนการแสดงผลภาพแบบ Golden ratio นั้น ถือได้ว่า "เป็นสัดส่วนการมองเห็นที่ดีที่สุด"

กล่าวคือ "เป็นสัดส่วนซึ่งจะส่งผลทางด้านจิตวิทยาการมองเห็น ต่อระบบประสาทการรับรู้ ต่อระบบประสาทสัมผัส ต่อความรู้สึก และ ที่สำคัญเป็นการมองเห็นที่ใกล้เคียงธรรมชาติการมองของมนุษย์ที่สุด ฯลฯ นั่นเอง"

ดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ ทิศทางการผลิต Panel แสดงผล รวมไปถึงรูปแบบการนำเสนอสื่อแบบต่างๆ จะมุ่งเน้นที่จะนำเสนอในผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสัดส่วนแบบ Gloden ratio แทบทั้งสิ้น

ดังเช่น Display Panel สำหรับ Computer ซึ่งมักจะได้รับการกำหนดในสัดส่วน 16:10

ส่วน Display Panel เพื่อการแสดงผลภาพสำหรับสื่อ Media โดยทั่วไป เช่น จอ LCD TV, HD-TV, จอ Plasma, หรือแม้แต่ จอ OLED ฯลฯ จะกำหนดผลิตกันในสัดส่วน 16:9

*ซึ่งทั้ง 2 สัดส่วนดังกล่าวนี้...ต่างก็ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนแบบ Gloden ratio เฉกเช่นกัน

และ..นอกเหนือไปจากสัดส่วนซึ่งได้รับการจัดอยู่ในระดับ Golden ratio" ดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น
ยังได้มีการการวิจัยฯ ในระดับลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก จนได้ข้อสรุปว่า "สัดส่วนซึ่งได้รับการยอมรับว่า..เป็นสัดส่วนที่ดีที่สุด" ก็คือ สัดส่วน "1.618 : 1" นั่นเอง

(ร่ายยาว..ต่อ)

golden mean คือ สัดส่วน (ratio) 1:1.6180339..

1.618 มาจากไหน?

*เป็นตัวเลขมหัศจรรย์ ที่ถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยก่อน และทุกวันนี้ถูกใช้ในทุก ๆ สิ่งรอบตัวเราโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว เป็นอะไรที่สมองของมนุษย์ตอบสนองดีเป็นพิเศษ อย่างเช่น มีการทดลองพบว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่คนชอบมากที่สุด นั้น เป็นสัดส่วน 1:1.618


จากอนุกรม Fibonacci ( S[n] = S[n-1] + S[n-2] )

0,1,1,2,3,5,8,13,21,34,55,89,...
เอา 3/2 = 1.5
5/3 = 1.667
……….
55/34 = 1.6176
89/55 = 1.6182

จากนั้น ค่าจะลู่เข้า ค่า ๆ หนึ่ง เรียกว่า Phi = 1.6180339... (เป็นอีกค่าคงที่ เหมือนค่า Pi และ e ที่เรารู้จัก)


หมายเหตุ.

สัดส่วน 3:2 (ฟอร์แมตในกล้อง DSLR/DSLR Like น่ะแหละ) ซึ่งก็จัดอยู่ในอนุกรม Fibonacci เช่นกัน

รวมทิป เทคนิคการถ่ายภาพ และเทคนิคการแต่งภาพ มากมายที่นี่

ภาพที่แนบมา

ภาพที่แนบมา 
ภาพที่แนบมา

Golden Spiral :

โดยแบ่งภาพทีละ 1:1.618 ของด้านยาว...แล้วลากจุดตัด เป็นเส้นโค้ง
รูปที่แนบมาด้วย
ภาพที่แนบมา
ตัวอย่างภาพแบบ Golden Spiral


รูปที่แนบมาด้วย
ภาพที่แนบมา

Golden Triangle

จะเห็นได้ว่า การกำหนดได้ด้วยการลางเส้นทะแยงมุมไป และลากเส้นอีกเส้นหนึ่งจากด้านด้านตรงกันข้ามให้มาตั้งฉากกับเส้นทะแยงมุมดังกล่าว

ณ จุดสัมผัส นั้น ก็คือ ตำแหน่งที่เราจะวาง object หลักที่ต้องการลงไปนั่นเอง


หมายเหตุ :
นอกเหนือจากกรอบสี่เหลี่ยม 1.618:1 แล้ว กรอบ 3:2 ก็สามารถกำหนดใช้ Golden Triangle ได้เฉกเช่นเดียวกัน

ปล.
สามารถปรับเปลี่ยน "จุดสัมผัส" ได้ทั้งแนวตั้ง/แนวนอน, ซ้าย/ขวา, บน/ล่าง (ทั้งนี้ทั้งนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับรูปแบบของภาพที่เราต้องการ ฯลฯ นั่นเอง)
รูปที่แนบมาด้วย
ภาพที่แนบมา 
ภาพตัวอย่าง ...แบบ Golden Triangle
รูปที่แนบมาด้วย
ภาพที่แนบมา

ภาพตัวอย่าง 2...แบบ Golden Triangle


รูปที่แนบมาด้วย
ภาพที่แนบมา

นอกเหนือจาก "รูปแบบการจัดวางองค์ประกอบภาพ" ดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ก็จะยังจะมีรูปแบบการจัดวางองค์ประกอบแบบอื่น ๆ อีกหลายแบบด้วยกัน

ที่พอจะจำจำได้ลางๆ (ก็..ตั้งกะสมัยเรียนนู้นแน่ะ hipb002.gif ) ก็คือ

Rule of Third from Golden Triangle (หรือ Golden Triangle > Rule of Third นั่นเอง)

กล่าวคือ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Rule of Third (การแบ่ง 9 ส่วน)..อันมาจาก Golden Triangle นั่นเอง

อธิบายความได้ว่า :
เป็นการกำหนด "จุดวางภาพ" อีกรูปแบบหนึ่ง...ซึ่งมีวิธีการกำหนด ดังนี้

อ้างอิงจากกรอบ 2:3 :
ลากเส้นทะแยงมุมไปหามุมตรงกันข้ามให้ครบทั้ง 4 มุม จากแต่ละมุม...ให้เราลากเส้นตรงลงมาให้ตั้งฉากกันเส้นทะแยงมุมข้างหน้า ซึ่งจะเกิด "จุดสัมผัสบนเส้นทะแยงมุม 4 จุดด้วยกัน"

กล่าวคือ หากเราลากเส้นประจาก "จุดสัมผัสบนเส้นทะแยงมุม" แต่ละจุดไปยังจุดสัมผัสบนเส้นทะแยงมุมด้านตรงกันข้าม ก็จะเกิด "จุดตัดขึ้นมา 4 จุด"ด้วยกัน และ ขณะเดียวกันก็จะเป็นการแบ่งกรอบออกเป็น 9 ส่วนด้วยกัน


ปล.
จากภาพ : เส้น/องศา/จุดแบ่ง ฯลฯ อาจจะจะไม่ค่อยตรงเปะๆ นักหรอกนะ ทั้งนี้ลากเส้นปื้ดๆ โดยการกะเอาด้วยสายตาเท่านั้นเอง hipb002.gif )
รูปที่แนบมาด้วย
ภาพที่แนบมา

เมื่อเปรียบเทียบกับ...การจัดรูปแบบ “ กฎสามส่วนแบบมาตรฐาน” (Rule of third)

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ลักษณะของ "Rule of Third from Golden Triangle" เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ "Rule of Third"

จะเห็นว่า "จุดตัด" อันเกิดจากแบบ Golden Triangle จะมี "กรอบจุดตัด" ที่มีขนาดกว้างกว่า "Rule of Third"(ปกติ)

รูปที่แนบมาด้วย
ภาพที่แนบมา

คลับคล้าย คลับคลาว่า ยังมีรูปแบบการจัดวางองค์ประกอบภาพอยู่อีกซักอีกรูปแบบนึง น้าาาๆๆๆๆ...

ใช่แล้ว!!! นั่น ก็คือ..."จุดตัด 16 ช่อง"
นั่นเอง

กล่าวคือ เป็นการแบ่งภาพออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ทั้งแนวตั้ง และ แนวนอน...ซึ่งก็จะได้จุดตัดทั้งหมด 9 จุดด้วยกัน

"แต่เราจะไม่นิยมใช้จุดตรงกลาง"

ดังนั้น จึงเหลือเพียงจุดให้เราเลือกวางจุดเด่นลงไปที่ 1 ใน 8 จุดนั้นเท่านั้น

ปล.
การจัดวางฯ ในลักษณะนี้มักจะเป็นที่นิยมกันในหมู่บรรดาโปรฯ ทั้งหลาย

.................

*อิ อิ...ขี้เกียจวาดรูปประกอบแล้วอ่ะ... เชื่อว่าทุก ๆ ท่านคงจะนึกภาพออกได้ไม่ยาก เน่อ


เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพที่ได้รวบรวมไว้เล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่ได้รวบรวมจากจากหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพ และ จากเว็บไซต์นำแนะเกี่ยวกับการถ่ายภาพทั้งไทย/เทศ รวมทั้งที่พอจะจดจำได้อยู่บ้างนิดๆ หน่อยๆ ตั้งกะสมัยที่ได้เคยลงเรียนวิชาการถ่ายภาพปู้นนนน  กอปรกับที่เคยได้มีโอกาสได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการถ่ายภาพหลายๆ ครั้งด้วยกัน

ที่นำมาแปะๆ ไว้นี้ ถือซะว่า "เป็นการนำมาฝาก" ล่ะกันเนอะ หาได้มีเจตนานเป็นการนำมาสอนกันหรอกนะจ๊ะ
เผื่อว่า..ท่านใดที่ยังไม่ทราบแว่บๆ ผ่านเข้ามาในบอร์ดนี้แล้วเกิดสนใจขึ้นมาจะได้นำไปศึกษา และทดลองใช้ดู
รวมทั้งอาจจะเป็นการช่วยกระตุ้น/รื้อฟื้น องค์ความรู้ในเรื่องนี้สำหรับกับอีกหลายๆ ท่านซึ่งได้ศึกษามาอย่างกระจ่างแจ้งในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว...แต่ชักจะเลือนๆ ไปบ้างแล้ว

ปล.
หากใคร่อยากจะถ่ายภาพให้ดูดี ถูกต้อง มีมาตรฐาน ฯลฯ

แนะนำว่า...ให้เข้าไปศึกษารูปแบบ และดูตัวอย่างการถ่ายภาพได้จากเว็บเหล่านี้ได้เน่อ เช่น...

http://www.nationalgeographic.com]http://www.nationalgeographic.com

http://www.Dark Roasted Blend.com


............

องค์ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพเบื้องต้น/พื้นฐานเหล่านี้ เคิดว่าบรรดาสมาชิกในนี้ก็คงจะรู้ และมีความชำนาญกันดีอยู่แล้ว..เป็นแน่แท้ นิ

*พิมพ์ไปโพสต์ไป " มึนตึ๊บ" เลย 

ว่างๆ ก่อนเน่อ...จะแว่บเข้ามาเสริมเนื้อหา(หรือ ขัดเกลาเนื้อหา)อีกซักเล็กน้อย

ตอนนี้สมองชักจะเบลอๆ แล้ว...ขอแว่บออกไปก่อน เด้อ


ล้ำลึกมากครับ ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ถ่องแท้ รับรองว่าจะสามารถจัดองค์ประกอบภาพที่สวยงามได้ดีเลยครับ

อีกตัวอย่างของภาพที่ใช้หลักการจัดองประกอบแบบ Golden Mean

IPB Image
ภาพจาก: http://www.coastal-style.com/mona-lisa.html

แว่บ..เข้าเพิ่มเติมนี้สส์ นึง...

ยังมีหลักการจัดองค์ประกอบภาพอีกมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน หากผู้ได๋สนใจ หรือต้องการที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพแบบ Golden Mean เพิ่มเติม

ขอแนะให้ลองเข้าไปศึกษาได้จากที่นี่ได้ เน่อ...

http://www.morguefile.com/archive/classroom.php?lesson=1&MORGUEFILE=ptgo9apjm639pgsmlf1cghoc77

http://www.artlex.com/ArtLex/g/goldenmean.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Golden_ratio


หรือว่า "หากต้องการที่จะศึกษา หรือต้องการดูตัวอย่างภาพถ่ายที่ดูดี มีมาตรฐาน" แล้วล่ะก็ แนะนำให้ไปศึกษาได้จากที่นี่..ก็ได้

http://photography.nationalgeographic.com/photography/index.html
(อิ อิ..อันนี้ ผมอาศัยแอบก็อบมุมมองของเค้าตั้งแต่สมัยลงทะเบียนเรียนวิชาการถ่ายภาพแล้วนิ ...สมัยนั้นยังเป็นหนังสือภาษาอังกฤษอยู่เลยอ่ะ)

หรือ ที่นี่ก็ได้...
http://www.dcmag.co.uk/

ออ! ขอแนะหนังสืออีกเล่มนึงซึ่งสอนเรื่องการถ่ายภาพระดับโปรฯ(ชั้นสูง) คือ Absolute Photography
ไม่รู้ว่าตอนนี้จะยังมีขายอยู่อีกหรือไม่นะ?... ราคาเมื่อปี 2531 เล่มละ 250 บาท ณ ตอนนั้นกับนักศึกษาบ้านนอกไส้กรอบคนหนึ่ง...ถือว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างแพงมากกกกๆๆๆท
ีเดียว...นานๆ จึงจะกัดฟันซื้อซักเล่มนึงที่สนใจจริงๆเท่านั้น
(แต่...อิ อิ..ไปแอบยืนอ่านซะทุกเล่มแหละ )


ที่มาจาก http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=648



ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

cdvboard Icon เทคนิคแต่งภาพสไตล์โลโม (LOMO) อ่าน 3,536 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon การถ่ายภาพ กับ การแต่งภาพ Portrait 1 อ่าน 4,800 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean - Composition อ่าน 7,460 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon เทคนิคการถ่ายภาพพลุ อ่าน 2,721 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon กฎสามส่วน (Rule of Third) อ่าน 2,062 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
cdvboard Icon หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น อ่าน 9,792 13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา