เกร็ดความรู้ เพื่อสุขภาพ : [ เตือนระวัง 6 โรคอันตรายหน้าร้อน ]

POY_POY profile image POY_POY
กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเตือนประชาชน ระวัง 6 โรคอันตรายหน้าร้อน ทั้งโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ปีนี้พบผู้ป่วยกว่า 2 แสนราย ชี้อากาศร้อนทำให้เชื้อโรคเติบโตเร็ว ประชาชนต้องระมัดระวังความสะอาดของอาหารและน้ำให้มากขึ้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสุนัขหรือแมว ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เป็นประจำทุกปี

           นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน หลายพื้นที่อาจร้อนจัดและประสบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งจะเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค โดยเฉพาะแบคทีเรียอย่างมาก ยิ่งพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรค ออกประกาศเตือนประชาชนป้องกันโรคที่เกิดในฤดูร้อน 6 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค และโรคพิษสุนัขบ้า และสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ โรงพยาบาลทุกแห่ง ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากมีรายงานผู้ป่วย ให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วออกสอบสวนควบคุมโรคทันที และดูแลปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลอาหาร และจัดหาน้ำสะอาด โดยเน้นการล้างตลาดทุก 2 สัปดาห์ ใส่คลอรีนในแหล่งน้ำดื่มให้ได้มาตรฐาน และเร่งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ แจ้งเตือนประชาชนทั่วประเทศพร้อมคำแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว เพื่อลดจำนวนผู้เจ็บป่วยลงให้ได้มากที่สุด

           นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า ในการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคติดต่อทางเดินอาหารในช่วงฤดูร้อน ขอให้ประชาชนระมัดระวังความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มเป็น พิเศษ โดยยึดหลักง่ายๆ ได้แก่ กินร้อน คือกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หากยังไม่กินต้องเก็บในตู้เย็นและอุ่นให้ร้อนก่อนกิน ใช้ช้อนกลางในการกินอาหารร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วม และดื่มน้ำสะอาดเช่นน้ำต้มสุก หรือน้ำดื่มบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายอย.รับรอง ซึ่งเป็นน้ำที่ผลิต จากโรงงานที่ได้มาตรฐานจีเอ็มพี

           ด้านนายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคติดต่อสำคัญที่เกิดในฤดูร้อนประกอบด้วย โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ 5 โรค ได้แก่ อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์ ในปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึง 28 กุมภาพันธ์ 2553 พบผู้ป่วยรวม 200,576 ราย เสียชีวิต 14 ราย ที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง 183,339 ราย เสียชีวิต 12 ราย รองลงมาคืออาหารเป็นพิษ 14,897 ราย เสียชีวิต 1 ราย 

           สาเหตุการติดเชื้อทั้ง 5 โรคดังกล่าว เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ หลู้ น้ำตก รวมทั้งอาหารที่มีแมลงวันตอม หรืออาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ อาการส่วนใหญ่มักถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำหรือมีมูกเลือดปน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ในการดูแลเบื้องต้นภายหลังมีอาการดังกล่าว ในระยะแรกควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผสมผงน้ำตาลเกลือแร่หรือที่ เรียกว่าผงโออาร์เอส โดยใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซองผสมน้ำต้มสุกเย็น 1 แก้ว หากไม่มี ให้ใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ กับเกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุกเย็นในปริมาณ 1 ขวดน้ำปลากลมแทน โดยต้องดื่มให้หมดภายใน 1 วัน นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารเหลว เช่น น้ำข้าว น้ำแกงจืด หรือข้าวต้ม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

           นายแพทย์มานิตกล่าวต่อว่า ส่วนโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่สำคัญ ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งพบได้ตลอดปีแต่มีแนวโน้มคนถูกสุนัขกัดจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหน้าร้อน โดยปี 2552 พบผู้ป่วยทั้งหมด 23 ราย เสียชีวิตทุกราย ส่วนในปี 2553 นี้ มีรายงานผู้เสียชีวิต 7 ราย ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการถูกสุนัขมีเจ้าของที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกัด และไม่ได้ไปหาหมอ คนที่ถูกสุนัขกัดส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 1-10 ปี โรคนี้ติดต่อจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผลรอยข่วน หรือน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อเข้าตา ปาก จมูก สัตว์นำโรคที่พบมากสุดคือ สุนัข รองลงมาเป็นแมว และอาจพบในสัตว์เลี้ยงอื่น เช่น หมู ม้า วัว ควาย และสัตว์ป่า เช่น ลิง ชะนี กระรอก กระแต เป็นต้น

          สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า สังเกตได้จากมีนิสัยผิดไปจากเดิม เช่น มีอาการตื่นเต้น ตกใจง่าย กระวนกระวาย กัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า กินอาหารน้อยลง ไวต่อแสงและเสียง ซึ่งต่อมาสัตว์จะเป็นอัมพาต หลังแข็ง หางตก ลิ้นห้อย กลืนไม่ได้ ขากรรไกรแข็ง ชักและตายภายใน 10 วันนับจากแสดงอาการ โรคพิษสุนัขบ้านี้ไม่มียารักษา เมื่อมีอาการป่วยแล้ว จะเสียชีวิตทุกราย การป้องกันมี 2 วิธี คือการป้องกันในสัตว์ โดยนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปีละครั้ง ในปีแรกควรฉีด 2 ครั้ง และการป้องกันในคน โดยไม่เล่นกับสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ระวังบุตรหลานไม่ให้ถูกกัด ใช้คาถา 5 ย. คือ อย่า แหย่สุนัขให้โมโห อย่าเหยียบสุนัข อย่าแยกสุนัขกัดกัน อย่าหยิบชามอาหารปรือลูกสุนัข และอย่ายุ่งกับสุนัขแปลกหน้าหรือไม่ทราบประวัติ หากถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เช็ดให้แห้งแล้วใส่ยารักษาแผลสด เช่น โพรวิโดนไอโอดีน และรีบไปพบแพทย์


เกร็ดความรู้ เพื่อสุขภาพ : [ เตือนระวัง 6 โรคอันตรายหน้าร้อน ]

ความคิดเห็น
eve_ice profile eve_ice
ขอบคุณสำหรับ


ความรู้ค่ะ



guest profile guest
ขอบคุณมากค่ะ
จาก..หยก
ploypailin profile ploypailin
ทำไมร้อนอย่างนี้ ประเทศไทย

กรี๊ดดดด น่ากลัวอ่ะ แต่ละโรค

ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

ดื่มน้ำเย้อๆ
TUNGKIE_BS profile TUNGKIE_BS
HOT HOT

ตัวจะไหม้ไหมเนี้ย
eve_ice profile eve_ice
อากาศร้อนแบบนี้ อารมณ์คุณร้อนมั้ยข๊ะ

ถ้าร้อน พี่ เพื่อนๆ ก้อมาดับอารมณ์ร้อนเถอะค่ะ

ดับ อารมณ์ร้อน ....ให้หายได้....ด้วย 8 วิธี
 
เวลา โกรธ...อารมณ์มันพลุ่งพล่าน  มองเห็นช้างตัวเล็กเท่ามดอย่างที่เขาว่ากัน  คนที่อารมณ์ร้อนมักจะเสียเปรียบเพราะขาดสติได้ง่ายกว่าคนอารมณ์เย็น  การดับอารมณ์ร้อนฟังดูเหมือนง่ายๆ  แต่พอปฏิบัติจริงรู้สึกว่าทำได้ยาก  ก็เวลาโกรธใครที่ไหนจะมานึกหาวิธีดับอารมณ์ร้อนได้ทัน   ถ้าอย่างนั้นมาลองดับอารมณ์ร้อนกันดีกว่า อาจจะทำไม่ได้ทุกข้อ  ก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่ลองดูก่อนจะรู้ได้อย่างไรกันล่ะ  จริงไหมคะ 
 
 
 
 1. นับ 1-10

ไม่ใช่เรื่องตลก ในยามที่คุณไม่สบอารมณ์กับคำพูดของเพื่อนบางคน แล้วแทนที่จะสวนกลับด้วยคำพูดที่เจ็บแสบพอกัน กลับปรับอารมณ์ตัวเองด้วยการนับ 1 -10 ในใจ เพื่อที่จะห้ามตัวเอง และมีเวลาพิจารณาคำพูดของเพื่อนๆ ว่ากำลังอยู่ในอารมณ์ที่กำลังเย้าแหย่เล่น มากกว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็ป่วยการที่จะโกรธเคืองให้งานกร่อย ปล่อยให้เล่นสนุกไปสักพักเดี๋ยวก็เลิกเล่นกันเองแหล่ะ แต่ถ้ายังทนไม่ไหว ก็เพิ่มจาก 10 เป็น 20 30 จนถึง 100  
 

 2. เลี่ยงหลบๆ ไปให้พ้น

ถ้ารู้ว่าเป็นคนอารมณ์ร้อน และมักจะใช้กำลังทำลายข้าวของ หรือแม้กระทั่งคนที่ยืนอยู่ตรงหน้า วิธีการเลี่ยงออกไปจากตรงนั้นเป็นการดีที่สุด สองมือล้วงกระเป๋าสองเท้าก้าวออกไปจากจุดนั้น จนกว่าจะสามารถระงับอารมณ์ตัวเองได้ จึงหันหน้ากลับมายังทิศทางเดิมเพื่อสะสางปัญหา  
 
 

3. ตั้งใจฟัง

ระหว่างการอภิปรายหรือโต้เถียงอย่างรุนแรง และคุณก็เป็นคนหนึ่งที่ถูกพาดพิง และวิจารณ์อย่างดุเดือด การโต้ตอบทันทีทันใดแบบเลือดขึ้นหน้า เป็นการเปล่าประโยชน์และแสดงวุฒิภาวะทางอารมย์อย่างไม่ควจจะเป็น การตั้งใจฟังจะทำให้คุณใคร่ครวญ ถึงคำพูดที่ถูดพาดพิงได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เพราะคนที่พูดนั้นมีโอกาสที่จะพลาดได้มากกว่าคนที่ไม่พูดอะไรเลย
 
 

4. หมั่นฝึกสมาธิ

สมาธิเป็นการฝึกจิตชั้นดีที่สุดที่ สามารถทำให้คนอารมณ์ร้อนกลายเป็นคนอารมย์เย็น สุขุมนุ่มลึก สมองปลอดโปร่ง แล้วบรรดาเรื่องต่างๆ ก็จะไม่สามารถกวนคุณให้อารมณ์ปะทุขึ้นได้โดยง่าย  
 

 5. ฝึกอ่านหนังสือตั้งแต่ต้นจนจบ

เปิดหนังสือหน้าแรกก็ต้องรีบวางไม่ใช่ว่าหนังสือน่าเบื่อ แต่เป็นเพราะคุณไม่อาจทนต่อการอ่านหนังสือจนจบได้ ดังนั้นการฝึกอ่านหนังสือตั้งแต่หน้าแรกไปถึงหน้าสุดท้าย นอกจากจะได้ความคิดดีๆ แล้ว ยังลดความพลุ่งพล่านทางอารมณ์ของคุณได้อีกด้วย  
 

 6. คิดหาเหตุผล

หลักการทางวิทยาศาสตร์ยังใช้ได้ดีกับ คนอารมณ์ร้อนอีกด้วย จงใช้วิจารณญาณในการคิดและตัดสินใจ จะพบว่าที่เคยร้อนจะผ่อนคลายลงเป็นเย็นเยียบ และเฉียบขาดในการแก้ไขปัญหา 
 

 7. ฝึกขอโทษ

คำว่าขอโทษสามารถระงับอารมณ์ร้อนของคุณเองได้ แล้วยังสามารถระงับอารมณ์เดือดๆของคนอื่นได้ด้วย การเริ่มต้นในบางสถาณการณ์ด้วยคำว่าขอโทษ องศาเดือดที่ทำท่าว่าจะคุกรุ่นย่อมลดลงด้วยเช่นกัน  
 
 

8. ยิ้มเข้าไว้

คุณเคยยิ้มแบบเสแสร้งไหม ยิ้มแบบที่ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ยิ้มแก้เขิน ยิ้มทั้งๆ ที่ไม่อยากยิ้ม แต่เมื่อยิ้มออกไปแล้วจะไม่มีภัยมาถึงตัว เพราะรอยยิ้มคือมิตรภาพ คือความอบอุ่น คือไมตรีจิตที่ส่งถึงกันได้ การยิ้มบ่อยๆ จะสามารถระงับอารมณ์ร้อนๆ ของคุณได้อย่างที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

 

นำไปปฎิบัติแล้วค่ะ   ใช้วิธีที่ 1  และ  8   ได้ผล  100 %


ที่มา
http://www.kroobannok.com/blog/13705
eve_ice profile eve_ice

6 เคล็ดลับเติมความสดชื่นในวันร้อน ๆ

ในวันที่อากาศร้อน ๆ อย่างนี้ เรามีเทคนิคดี ๆ มาช่วยเติมความสดชื่นกันด้วยคะ

1.มีผล วิจัยยืนยันว่า การมองไปที่สีเขียวจะช่วยทำให้คนเรารู้สึกสดชื่น ลองหาต้นไม้เขียว ๆ มาวางบนโต๊ะทำงาน หรือแทนที่เสื้อผ้าสีดำในตู้ด้วยสีสดใสอย่างสีเขียวดูบ้าง รับรองว่า เวลามองตัวเองในกระจกจะรู้สึกสดชื่นขึ้นอีกเยอะเลย

2.ลองเปลี่ยนจาก น้ำหอมโปรด กลิ่นฉุนที่ใช้เป็นประจำ มาเป็นกลิ่นอ่อน ๆ ที่หอมสดชื่นจำพวกผลไม้ตระกูลซิตรัส ซึ่งเข้ากับอากาศร้อนชื้นแบบเมืองไทยดูบ้าง นอกจากจะได้ความรู้สึกสดชื่นเหมือนอยู่ในสวนแล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้คนข้าง ๆ คุณได้แปลกใจอีกด้วย

3.เวลา เหงื่อออก ร่างกายจะขาดความชุ่มชื่นเนื่องจากสูญเสียน้ำ ถึงจะรู้สึกว่าผิวเปียกเวลาเหงื่อออก แต่ความจริงแล้วผิวกำลังขาดความชุ่มชื่น เติมความชุ่มชื่นกลับคืนให้ผิวด้วยการทาโลชั่น โดยเลือกโลชั่นที่เป็นอาหารผิวจากธรรมชาติที่ช่วยบำรุงผิวให้สดชื่น มีสุขภาพดี อย่างเช่น แตงกวาและว่านหางจระเข้

4.เติมความสดชื่นให้ ร่างกายด้วยการดื่มน้ำว่างหางจระเข้ปั่นเย็น ๆ แทนการดื่มน้ำอัดลมซ่า ๆ เพราะว่านหางจระเข้สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายที่อ่อนล้า เพราะขาดการพักผ่อน นอกจากนั้นยังเป็นมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ของผิวอีกด้วย


5.แตงกวาผลเล็ก ๆ อุดมไปด้วยวิตามินเอ และวิตามินซี ซึ่งช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น รวมถึงใยอาหารและแร่ธาตุที่มีประโยชน์อย่างซิลิกา โพแทสเซียม และแมกนีเซียม นอกจากนั้นแตงกวายังมีน้ำเป็นส่วนประกอบกว่า 50% ลองเปลี่ยนจากการนำแตงกวามาแปะผิวแล้วโยนทิ้ง เป็นการรับประทานแบบสด ๆ แทน เพราะนอกจากจะช่วยให้สดชื่นแล้ว ยังทำให้ผิวสวยชุ่มชื่น เปล่งประกายสุขภาพดีจากภายใน

6.ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่ ก็มักจะนึกถึงไอศกรีมในวันร้อน ๆ มองข้ามไอศกรีมเนื้อแน่น ที่อุดมไปด้วยไขมันจากทั้งนมและครีมที่คุณโปรดปราน แล้วหันมาลองไอศกรีมแบบซอร์เบทที่ให้ความสดชื่นสุด ๆ อย่างรสแพชชั่นฟรุต มะนาว หรือราสเบอร์รี่ นอกจากจะสดชื่นแล้วรับรองว่าไม่อ้วน เพราะแคลอรี่อยู่ที่ 0%

ที่มา
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=loveconquerseverything&month=16-05-2010&group=15&gblog=194
audchara profile audchara
ขอบคุณนะ..อีฟ.

สำหรับข้อมูลดีๆๆๆๆทั้งหมด


จาก..กุ๊ก..
eve_ice profile eve_ice
การป้องกันโรค ที่เกิดในฤดูร้อน
 

เนื่องจากขณะนี้เป็นระยะเวลาที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งเหมาะแก่การเจริญเติบโตและแพร่ระบาดของ เชื้อโรคหลายชนิด ดังนั้น ในบางพื้นที่ของประเทศที่ประสบกับภาวะแล้งในช่วงฤดูร้อน อาจจะเกิดการระบาดของโรคติดต่อต่างๆได้ โดยเฉพาะโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ บิด ไข้รากสาดน้อย หรือไข้ไทฟอยด์ และโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เป็นต้น 

กรมควบคุมโรคมีความห่วงใยในสุขภาพและอนามัยของประชาชนใน ช่วงฤดูร้อนนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงขอแจ้งให้ประชาชนระมัดระวัง ดูแลในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะในการใส่อาหาร ตลอดจนให้มีการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะและขอแนะนำให้ทราบถึงอาการสำคัญและ วิธีการป้องกันโรคที่เกิดในฤดูร้อน

1. โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ
1.1 สาเหตุและอาการของโรค

โรคอุจจาระร่วง


เกิดจากเชื้อต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และหนอนพยาธิ สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เข้าไป อาการสำคัญ คือ ถ่ายอุจจาระเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกปนเลือด แม้เพียง 1 ครั้ง อาจมีอาเจียนร่วมด้วย อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย จนกระทั่งมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้

โรคอาหารเป็นพิษ

เกิดจากเชื้อต่างๆ เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซาลโมเนลล่า เชื้อรา เห็ด หรือสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆดิบๆ จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ไข่เป็ด และไข่ไก่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ นอกจากนี้อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ และไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอก่อนรับประทานจะทำให้เป็นโรคนี้ได้ อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดท้อง เนื่องจากเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้  นอกจากนี้ มีอาการปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง  ซึ่งถ้าถ่ายมากจะเกิดอาการขาดน้ำและเกลือแร่ได้และบางรายอาจมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการติดเชื้อ และเกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น ข้อและกระดูก ถุงน้ำดี กล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมอง และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต จะทำให้เกิดโลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

โรคบิด

เกิดจากเชื้อบิด ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียหรืออมีบา สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหาร ผักดิบหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป อาการสำคัญ คือ ถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือด มีไข้ ปวดท้องแบบปวดเบ่งร่วมด้วยและบางคนอาจเป็นโรคนี้แบบเรื้อรังได้

อหิวาตกโรค

เกิดจากเชื้ออหิวาตกโรคซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป อาการสำคัญ คือ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมากๆ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการปวดท้อง ไปจนกระทั่งมีการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำซาวข้าว อาเจียนมาก และมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว คือ กระหายน้ำ กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ตาลึกโหล ผิวหนังเหี่ยวย่น ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ หายใจลึกผิดปกติ ชีพจรเต้นเบาเร็ว อาการเหล่านี้เกิดขึ้นรวดเร็ว ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะช๊อคหมดสติ เนื่องจากเสียน้ำไปมาก สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงแก่ความตายในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย

เกิดจากเชื้อทัยฟอยด์  ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อได้โดยอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วย อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูก หรือบางรายอาจท้องเสียได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เรื้อรังจะมีเชื้อปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะเป็น ครั้งคราว ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นเป็นพาหะของโรคได้ ถ้าไปประกอบอาหารโดยไม่สะอาด หรือไม่สุก ก็จะทำให้เชื้อทัยฟอยด์แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้

โรคติดต่อทางอาหารและน้ำดังกล่าวข้างต้น แม้ว่าจะมีสาเหตุของการเกิดโรคต่างกัน แต่จะมีวิธีการติดต่อที่คล้ายคลึงกัน คือ เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ ก้อย หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หรืออาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ  โดยไม่ได้แช่เย็นไว้ และไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอก่อนรับประทาน ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวข้างต้น สามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ  และหากเป็นผู้ประกอบอาหารหรือพนักงานเสิร์ฟอาหารก็จะมีโอกาสแพร่เชื่อให้ผู้ อื่นได้มาก

1.2 การรักษา

1. ในระยะเริ่มแรกที่มีอาการอุจจาระร่วง หรืออาเจียนเล็กน้อยควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรืออาหารเหลวที่มีอยู่ในบ้านมากๆ โดยอาจเป็นน้ำชา  น้ำข้าว น้ำแกงจืด น้ำผลไม้ หรือข้าวต้ม และให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในสัดส่วนที่ถูกต้อง โดยใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง ผสมกับน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลม หรือเตรียมสารละลายเกลือแร่เอง โดยการผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลมและให้ผู้ป่วยดื่มบ่อยๆ เพื่อเป็นการทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปเนื่องจากการถ่ายอุจจาระบ่อย ครั้ง  สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ที่ผสมแล้ว ควรดื่มให้หมดภายใน
1 วัน ถ้าเหลือให้เททิ้ง แล้วผสมใหม่วันต่อวัน การรักษาดังกล่าวนี้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยยังถ่ายบ่อย และมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมากขึ้น ไข้สูงหรือชัก หรือเกิดอาการขาดน้ำ ควรนำไปตรวจรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านโดยเร็วต่อไป

2. เด็กที่ดื่มนมแม่ ให้ดื่มนมแม่ต่อไปร่วมกับป้อนสารละลายน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ สำหรับเด็กที่ดื่มนมผง ให้ผสมนมตามปกติ แต่ให้ดื่มเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยดื่มแล้วให้ดื่มสารละลายน้ำตาล เกลือแร่สลับกันไป (ไม่ควรผสมสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ลงในนมผสม)

3. เริ่มให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม ภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อช่วยให้ลำไส้ได้อาหารและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

4. หยุดให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เช่น ถ่ายน้อยลงแล้ว เป็นต้น หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย  โดยกินครั้งละน้อยๆและเพิ่มจำนวนมื้อ

5. ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคยังคงอยู่ในร่างกายซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น

6. การใช้ยาปฏิชีวนะ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

1.3 การป้องกัน

1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร รับประทานอาหาร หรือก่อนเตรียมนมให้เด็ก และภายหลังจากการเข้าห้องน้ำหรือห้องส้วมทุกครั้ง

2. ดื่มน้ำที่สะอาด หรือน้ำต้มสุก และรับประทานอาหารที่สะอาด และสุกใหม่ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม  หากต้องการจะเก็บรักษาอาหารที่ปรุงสุกแล้วไว้รับประทานในวันต่อไป ควรใส่ไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บไว้ในตู้เย็น  และนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง และการเก็บรักษาที่ปรุงสุกแล้ว ควรแยกจากอาหารหรือวัตถุดิบที่ยังไม่ปรุง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน

3. การกำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และสิ่งปฏิกูลรอบๆ บริเวณบ้านทุกวัน เพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

4. ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ (ส้วมซึม) ทุกครั้งเพื่อไม่ให้เป็นการแพร่โรคจากผู้ป่วยได้

5. สำหรับผู้ประกอบอาหาร และพนักงานเสิร์ฟอาหาร ควรหมั่นล้างมือก่อนจับต้องอาหารทุกครั้ง ดูแลรักษาความสะอาดภายในครัว และอุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาหาร ตลอดจนกำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหารทุกวัน และหากมีอาการอุจจาระร่วงควรหยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะหายหรือตรวจไม่พบเชื้อใน อุจจาระ

6. ผู้ประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานฆ่าสัตว์ จำหน่ายเนื้อสัตว์ รวมไปถึงร้านอาหาร ทุกประเภท ควรดูแลสุขภาพอนามัยของสัตว์เลี้ยงไม่ให้เป็นโรคติดต่อ และหมั่นทำความสะอาดสถานที่ประกอบการ ให้มีการบำบัดหรือกำจัดน้ำเสีย และกำจัดขยะมูลฝอยบริเวณโดยรอบ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน

7. สำหรับผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ควรจัดให้มีน้ำดื่มที่สะอาด มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ มีการกำจัดขยะมูลฝอย และน้ำเสียที่เหมาะสมในบริเวณชุมชนก่อสร้างตลอดจนมีการให้สุขศึกษาแก่คนงาน ในการป้องกันโรค

8. แหล่งผลิตหรือจับสัตว์น้ำ ได้แก่ บริเวณสะพานปลา เรือประมง จะต้องมีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี ส้วมถูกสุขลักษณะ น้ำดื่มสะอาด (เช่น น้ำผสมผงคลอรีน 0.2 – 0.5 ส่วนในล้านส่วน) รวมถึงอนามัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการนั้นๆ

2. โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
2.1 สาเหตุและอาการของโรค

เกิดจากเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะย่างยิ่ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ติดต่อมาสู่คน โดยถูกสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือสัตว์เลียบริเวณที่มีแผลรอยข่วน หรือน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าตา ปาก จมูก สัตว์ที่นำโรคที่สำคัญที่สุด ได้แก่ สุนัข รองลงมา คือ แมว และอาจพบในสัตว์อื่นๆ หลายชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยง เช่น หมู ม้า วัว ควาย  และสัตว์ป่า เช่น ลิง ชะนี กระรอก กระแต เป็นต้น เมื่อคนได้รับเชื้อแล้ว และไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะมีอาการปรากฏหลังจากการรับเชื้อ 15 -60 วัน หรือบางรายอาจนานเป็นปี ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ขณะนี้ยังไม่มียารักษาได้ ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตทุกราย ฉะนั้น การป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

อาการที่สำคัญของโรคในคน เริ่มด้วยอาการปวดศรีษะ มีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการที่พบบ่อยๆ คือคันบริเวณบาดแผลที่ถูกกัด ซึ่งแผลอาจหายสนิทไปนานแล้ว ต่อมาลุกลามไปที่อื่นๆ ผู้ป่วยจะเกามากจนเลือดออกซิบๆและมีอาการกลืนลำบาก เพราะกล้ามเนื้อที่ลำคอและกล่องเสียงหดและเกร็งตัว อยากดื่มน้ำแต่กลืนไม่ได้ทำให้มีอาการกลัวน้ำ น้ำลายฟูมปาก บ้วนน้ำลายบ่อย กระวนกระวาย ตื่นเต้น ใจคอหงุดหงิด หายใจเร็ว ประสาทสัมผัสจะไวต่อการกระตุ้น ทำให้ตกใจง่ายและสะดุ้งผวาเมื่อถูกลม หรือได้ยินเสียงดัง กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งกระตุก ระยะหลังจะเป็นอัมพาตหมดสติและเสียชีวิตภายใน 2 -7 วัน นับจากเริ่มแสดงอาการ

วิธีสังเกตสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคกลัวน้ำคือ ระยะแรก สัตว์จะมีนิสัยผิดไปจากเดิม ต่อมาจะมีอาการ ตื่นเต้น ตกใจง่าย กระวนกระวาย กระโดดงบลมหรือแมลง กินของแปลกๆ เช่น เศษไม้ หิน ดิน ทราย กัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า กินอาหารได้น้อยลง ม่านตาเบิกขยาย และจะไวต่อแสงและเสียง เสียงเห่าหอนผิดปกติ หลังแข็ง หางตก ลิ้นห้อย เนื่องจากเริ่มเป็นอัมพาต โดยคางจะห้อย น้ำลายไหลซึม  กลืนไม่ได้ ขากรรไกรแข็ง  อ้าปากค้าง ขาสั่นเดินไม่มั่นคง  อัมพาตจะลุกลามไปทั่วตัว  แล้วจะล้มลง ชัก และตายภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มแสดงอาการ อย่างไรก็ตามสัตว์บางตัวอาจมีอาการซึมแสดงอาการระยะตื่นเต้นสั้นหรือไม่แสดง อาการ ซุกซ้อนตัวอยู่ในที่มืด เย็นและเงียบๆ ไม่กินอาหาร เอาเท้าตะกรุยคอคล้ายกระดูกติดคอ โดยไม่มีอาการดุร้ายให้เห็นจะกัดคนต่อเมื่อถูกรบกวน ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคมากกว่าชนิดดุร้าย

2.2 การป้องกัน

1.  นำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปีละครั้ง แต่สุนัขที่ฉีดวัคซีนครั้งแรกควรฉีด 2 ครั้ง (ห่างกัน 1 – 3 เดือน) ตาม พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้ากำหนดให้ เจ้าของต้องนำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อสุนัขอายุ 2-4 เดือน

2. ระวังบุตรหลานไม่ให้เล่นคลุกคลีกับสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน ควรนำสัตว์ที่นำมาเลี้ยงไปรับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด เพราะสัตว์ที่ได้รับวัคซีนถูกต้องแล้วประมาณ 1 เดือน จึงจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ และถ้าไม่ต้องการให้สุนัขมีลูก ควรนำไปคุมกำเนิด เช่น ทำหมัน ฉีดยาคุม

3. ควรทิ้งขยะ เศษอาหาร ในที่ที่มีฝาปิดมิดชิด หรือกำจัดโดยการฝัง หรือเผา เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของสุนัขจรจัด และควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการกำจัดสุนัขไม่มีเจ้าของ

4. เมื่อถูกสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เช็ดให้แห้งแล้วใส่สารละลายไอโอดีนที่ไม่มีแอลกอออล์ เช่น โพวีโดนไอโอดีน หรือยารักษาแผลสดอื่นๆแทน พร้อมทั้งติดตามหาเจ้าของสุนัขที่กัดเพื่อสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้าและประวัติอาการของสุนัขเพื่อเฝ้าสังเกตต่อไปแล้วรีบไปพบ แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด เพื่อรับคำแนะนำในการฉีดวัคซีนและอิมมูโนโกบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และถ้าต้องได้รับการฉีดวัคซีนและอิมมูโนโกบุลินจะต้องไปให้ครบตามนัดหมายและ ปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

5. ควรกักขังสุนัขหรือแมวที่กัดไว้ดูอาการ ถ้าเป็นสัตว์ที่มีอาการปกติให้กักขังไว้ดูอาการอย่างน้อย 10 วัน โดยในระหว่างนี้ควรให้อาหาร และน้ำตามปกติ แต่ต้องระมัดระวังและไม่คลุกคลีด้วย ถ้าสัตว์มีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที และถ้าสัตว์ตายในระหว่างนี้ให้ตัดหัวส่งตรวจ แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่มีอาการชัดเจนหรือเป็นสัตว์ป่า หรือสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ และกักขังไม่ได้ให้ฆ่าทันทีแล้วรีบตัดหัวส่งตรวจ ทั้งนี้โปรดระวังอย่าฆ่าสัตว์โดยทำให้สมองเละ เพราะจะทำให้ตรวจไม่ได้ และในการตัดหัวสัตว์ส่งตรวจนั้นควรสวมถุงมือกันน้ำหรือใช้ถุงพลาสติกหุ้มมือ ขณะทำการตัด (ผู้ที่มีบาดแผลที่มือไม่ควรแตะต้องสัตว์นั้น) แล้วนำถุงพลาสติกครอบหัวสุนัขก่อนใช้มีดคมๆ ตัดตรงรอยข้อต่อระหว่างหัวกับคอ รวบถุงพลาสติกที่ครอบส่วนหัวสุนัขไว้ และนำใส่ลงในถุงพลาสติกหนาๆ อีกชั้นหนึ่ง ไม่ควรใช้มีดปังตอ หรือขวานสับ เพราะเชื้ออาจกระเด็นเข้าปากและตาได้ ใส่หัวสัตว์ลงในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น และใส่ภาชนะที่มีความเย็น เช่น กระติกที่มีน้ำแข็งอยู่ เพื่อกันไม่ให้เน่าและรีบส่งห้องปฏิบัติการตรวจโรคพิษสุนัขบ้าทันที

6. เมื่อพบเห็นสุนัข หรือสัตว์มีอาการที่คิดว่าจะเป็นโรคนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือเทศบาลทราบโดยด่วน เพื่อดำเนินการกำจัดโดยการติดตามสุนัขและคนที่ถูกสุนัขตัวดังกล่าวกัด ข่วน และควบคุมโรคในสัตว์ในบริเวณโดยรอบ

7. ถ้าพบสุนัขกัดควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ศูนย์ บริการสาธารณสุข หรือสถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลโดยเร็ว

ที่มา http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=38429067&Itemid=9

petnapa profile petnapa
 ขอบคุณนะอีฟ สำหรับข้อมูลดีๆ
จาก..หยก
guest profile guest
เฮ้อ........
guest profile guest
หยก: ไม่เปงไรอ่าจร๊.

^^

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
13 ปีที่ผ่านมา
14 ปีที่ผ่านมา
petnapa Icon อาหารเพื่อสุขภาพ 5 อ่าน 1,908 14 ปีที่ผ่านมา
14 ปีที่ผ่านมา
14 ปีที่ผ่านมา