ประวัติและความเป็นมาของกาแฟ (Coffee History)

TapiocaPudding profile image TapiocaPudding
ประวัติและความเป็นมาของกาแฟ (Coffee History)



ฝากรูป




ประวัติความเป็นมาของกาแฟในโลก



กาแฟโดยแหล่งกำเนิดแล้วเป็นพืชพื้นเมืองของอาบีซีเนีย (Abyssinia) และอาราเบีย (Arabia) ถูกค้นพบในศตวรรษที่ 6 ราวปี

ค.ศ. 575 ในประเทศอาระเบีย (Arabia) และในขณะเดียวกันบางท่านก็กล่าวว่ากาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัพฟา (Kaffa) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia) กาแฟจึงได้ชื่อเรียกตามจังหวัดนี้ และยังได้เรียกแตกต่างกันออกไปอีกมาก แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศอาราเบียน หรือประเทศอาหรับ ตะวันออกกลาง สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนักจนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบียคนหนึ่งชื่อ คาลดี (Kaldi) นำแพะออกไปเลี้ยงตามปกติ แพะได้กินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งเข้าไปแล้วเกิดความคึกคะนองผิดปกติ จึงได้นำเรื่องไปเล่าให้พระมุสลิมองค์หนึ่งฟัง พระองค์นั้นจึงได้นำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มในน้ำร้อนดื่มเห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟแพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบีย เข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส



 

 



ชาวอาระเบียเรียกพืชนี้ว่า “คะวาฮ์” (Kawah) หรือ “คะเวฮ์” (Kaweh) ซึ่งแปลว่าพลัง (strength) หรือความกระปรี้กระเปร่า (vigor) ชาวตุรกีเรียกว่า “คะเวฮ์” (Kaveh) ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆของโลก เช่น คัฟฟี (Koffee) ในอังกฤษเรียกว่า “คอฟฟี” (coffee) อันเป็นชื่อที่รู้จักและใช้ในปัจจุบันนี้ เมื่อมาถึงประเทศไทยคนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุด





ประวัติความเป็นมาของกาแฟในประเทศไทย




เมื่อทราบประวัติความเป็นมาของกาแฟในโลก ก็ควรจะได้รับทราบถึงความเป็นมาของกาแฟในประเทศไทยเราบ้าง กาแฟ ข้าวแฝ่ โกปี๊ หรือ ค้อฟฟี่ ตลอดจนค้อฟฟี่ช้อป (coffee shop) และคาเฟ่ (Café) เป็นภาษาที่คุ้นหูและคุ้นเคยกับคนไทยมากพอสมควรในปัจจุบันนี้ กาแฟในประเทศไทยมีต้นกำเนิดจากที่คนไทยผู้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามคนหนึ่ง ชื่อนายดีหมุน ได้มีโอกาสไปแสวงบุญ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้นำเมล็ดพันธุ์กาแฟมาเพาะปลูกที่บ้าน คือ ต.บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา



ในปี พ.ศ. 2447 กาแฟที่นำมาปรากฏว่าเป็นพันธุ์โรบัสต้าการปลูกได้ผลดีพอสมควร จากนั้นจึงได้มีการขยายพันธุ์และมีการส่งเสริมการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้านี้ออกไปอย่างกว้างขวางในภาคใต้ของประเทศไทย โดยส่งเสริมเป็นพืชปลูกสลับในสวนยางเป็นรายได้สำรองจากการกรีดยาง ปัจจุบันการปลูกกาแฟในภาคใต้ได้มีการพัฒนาการอย่างมากมายสามารถปลูกเป็นพืชหลักและทำรายได้ให้เกษตรกรเป็นอย่างดี พื้นที่ปลูกทั้งสิ้นประมาณ 147,647 ไร่ สำหรับกาแฟพันธุ์อาราบิก้า (C. Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟพันธุ์หลักและมีผลผลิตประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของโลกนั้น ได้ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ. 2493 ทั้งนี้ตามบันทึกของพระสารศาสตร์พลขันธ์ ซึ่งเป็นชาวอิตาลี ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 โครงการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาเศรษฐกิจชาวไทยภูเขา ไทย/สหประชาชาติ ได้เริ่มโครงการทดลองทำการเกษตรหลายชนิด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการค้นหาพันธุ์พืชและสัตว์ มาทดแทนการปลูกและผลิตยาเสพย์ติดฝิ่นของชาวไทยภูเขา และเพื่อทำการพัฒนาเศรษฐกิจของชาวไทยภูเขาอีกด้วย



และต่อมาในปี พ.ศ. 2520 โครงการได้ขยายเวลาการดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี โดยเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการปลูกพืชทดแทนและการตลาดที่สูง ทั้งนี้เป็นผลจากการทดลองใช้พืชหลายชนิดในการปลูกทดแทนฝิ่นซึ่งได้ผลดี ทำให้พื้นที่และปริมาณการผลิตฝิ่นลดลงไปมาก ในการส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่นนี้ กาแฟพันธุ์อาราบิก้าเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นความหวังในการทดแทนฝิ่นและสามารถทำรายได้แก่เกษตรกรชาวเขาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากสภาพความเหมาะสมของพื้นที่สูงและความต้องการในตลาดยังมีอยู่มากนั่นเอง



เอกสารอ้างอิง การปลูกและผลิตกาแฟอาราบิก้าบนที่สูง (Highland Arabica Coffee Production) ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่





กาแฟอราบิก้า
กาแฟเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก กาแฟเกือบทุกพันธุ์มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปแอฟริกา แต่ที่ปลูกกันแพร่หลายในเชิงธุรกิจมีเพียง 2 พันธุ์ คือ



- กาแฟ อาราบิก้า ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea arabica L. และ

- กาแฟ โรบัสต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea canephora Pierre



ผลผลิตของเมล็ดกาแฟในโลกมีมากว่าหกล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นเมล็ดกาแฟ อาราบิก้ามากกว่า 70% ที่เหลือเป็นเมล็ดกาแฟ โรบัสต้าและพันธุ์อื่น ๆ



กาแฟอาราบิก้า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนพื้นที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย (อะบิสซีเนีย เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6-9 องศาเหนือ แต่อาจพบต้นกาแฟอาราบิก้า ตรงช่วงรอยต่อบนภูเขาระหว่างเอธิโอเปียกับซูดาน และเอธิโอเปียกับเคนยา ในเอธิโอเปียสามารถพบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญงอกงามอยู่ทั่วไป ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่บนพื้นที่สูง ระหว่าง 1,370 -1,830 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพอากาศในแถบนั้น ค่อนข้างหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี อยู่ระหว่าง 15-24 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,900 มิลลิเมตร สภาพดินเป็นดินร่วนสีแดง มีหน้าดินลึก สภาพอากาศโดยทั่วไปในแถบนี้ มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งมีพร้อมๆ กับฤดูหนาว



ในยุคเริ่มต้นของกาแฟอาราบิก้า ประวัติและความเป็นมาค่อนข้างสับสน เพราะมีผู้พบเห็นต้นกาแฟอาราบิก้าเจริญงอกงามอยู่ทั่วไปใต้ต้นอินทผาลัม แถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่จากการศึกษาและสำรวจ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญในด้านกาแฟอาราบิก้าของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมมือกัน ภายใต้ความช่วยเหลือขององค์กรระหว่างประเทศ



สรุปว่า ในสมัยโบราณ ชาวเขาบางเผ่า ที่อาศัยอยู่บนที่สูงของประเทศเอธิโอเปีย ได้อพยพขึ้นเหนือมายังตะวันออกกลาง ได้นำเมล็ดกาแฟติดตัวมาด้วย และได้ปลูกไว้ตามเชิงเขา ชาวเขาเหล่านี้ ใช้เมล็ดกาแฟอาราบิก้าผสมกับไขสัตว์ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ใช้เป็นอาหารเวลาเดินทางไกล ต่อมาเมื่อชาวเปอร์เซียเรืองอำนาจ ได้ขยายอาณาจักรมาสู่ตะวันออกกลาง ได้ขับไล่ชาวเขาเหล่านี้กลับสู่ป่าเอธิโอเปียดังเดิม ส่วนต้นกาแฟอาราบิก้ายังคงเจริญงอกงาม และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติต่อๆกันมาแถบเชิงเขาประเทศเยเมน แต่มีบางกระแสเชื่อว่า ในศตวรรษที่ 15 นักเดินทางชาวอิสลามได้นำต้นกาแฟอาราบิก้าจากเอธิโอเปียมาปลูกไว้ ที่อาราเบีย ชาวดัชท์ได้เดินทางมายังอาราเบียในศตวรรษที่ 16 ได้พบต้นกาแฟอาราบิก้า เจริญอยู่ทั่วไป จึงนำเมล็ดกาแฟไปเพาะและปลูกไว้ ตามแหล่งอื่นๆของโลก ในศตวรรษที่ 17 นักแสวงบุญอิสลาม ชาวอินเดีย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากประเทศเยเมน มาปลูกไว้ตามเชิงเขาของรัฐคาร์นาตากา ในประเทศอินเดีย และชาวฝรั่งเศสได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า จากอาราเบียไปปลูกที่เมืองเบอร์บอง เกาะรี-ยูเนียน กาแฟอาราบิก้าจากแหล่งปลูกเหล่านี้ ได้แพร่กระจากไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลามากกว่า 2 ศตวรรษ



ในประเทศไทย พระสารศาสตร์พลขันธ์ ชาวอิตาลี ที่มารับราชการในประเทศไทย ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มาปลูกไว้ที่จังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ 2393 มีชื่อเรียกกาแฟสมัยนั้นว่า "กาแฟจันทบูร" ต่อมาในปีพ.ศ. 2500 กรมกสิกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าหลายสายพันธุ์ จากประเทศบราซิล มาปลูกไว้ตามสถานีต่างๆของกรมกสิกรรมในภาคเหนือ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 มูลนิธิโครงการหลวง ภายใต้ความช่วยเหลือของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา นำเมล็ดกาแฟอาราบิก้าลูกผสมที่ผสมขึ้นมา เพื่อความต้านทานโรคราสนิมจากประเทศโปรตุเกส มาปลูกไว้ในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อส่งเสริมชาวไทยภูเขา ปลูกทดแทนการปลูกฝิ่นบนภูเขาในภาคเหนือ กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก มูลค่าการซื้อขายในตลาดโลก เป็นลำดับที่สอง รองจากน้ำมันปิโตเลียม รายได้ของประชากร มากกว่า 50 ประเทศ ขึ้นอยู่กับกาแฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแอฟริกา



กาแฟอาราบิก้าส่วนใหญ่ จะปลูกกันมากในประเทศแถบลาตินอเมริกา เช่น บราซิล โคลอมเบีย คอสตาริก้า กัวเตมาลา เม็กซิโก เอลซัลวาดอร์ฯ ในทวีปแอฟริกาประเทศที่ปลูกกาแฟอาราบิก้า ได้แก่ อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย แต่เป็นปริมาณที่ยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับแหล่งอื่นๆ ของโลก เมล็ดกาแฟอาราบิก้า เป็นกาแฟที่มีคุณภาพดี ให้ทั้งรสชาติ (flavour) และกลิ่นหอม (aroma) มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่หลายปัจจัยในเรื่องของรสชาติ และกลิ่นหอมของกาแฟอาราบิก้า เช่น สายพันธุ์ที่ปลูก ชนิดของดิน สภาพแวดล้อม ความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ซึ่งจะเกี่ยวข้องในเรื่องอุณหภูมิ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และ กรรมวิธีปรุงรส เมล็ดกาแฟอาราบิก้า สามารถนำมาผลิต กาแฟคั่วบด (roasted coffee) และ กาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) แต่ส่วนใหญ่นิยมนำมาผลิตกาแฟคั่วบด เพราะจะให้กลิ่นหอมและรสชาติที่ดีเวลาดื่ม ในเมล็ดกาแฟอาราบิก้า มีองค์ประกอบทางเคมีของสารประกอบจำพวกแป้ง น้ำตาล รวมทั้งวิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด



แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ สารคาเฟอีน (caffeine) ในเมล็ดกาแฟอาราบิกา มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 - 1.5 แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ปลูกด้วย สารคาเฟอีนในกาแฟ เมื่อดื่มเข้าไปจะไปกระตุ้นประสาท ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่มีบางกระแสเตือนว่า สารคาเฟอีมีบทบาทต่อการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาจจะมีผลต่อโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล ที่แพร่หลายในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก แต่จะดื่มได้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน อาจจะขึ้นอยู่กับความเคยชิน และสภาพของร่างกายของแต่ละบุคคล



กาแฟโรบัสต้า



ชื่ออื่นๆ : กาแฟใบใหญ่

ชื่อสามัญ : Robusta coffee

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coffea robusta Pierre ex Froehner L.

ลักษณะทรงพุ่ม : ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ทรงพุ่มแน่น มีการแตกกิ่งก้านสาขามาก

วงศ์ : Rubiaceae ถิ่นกำเนิด : ประเทศเอธิโอเปีย

ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ฤดูการออกดอก : อยู่ในระหว่างรอการออกดอก เวลาที่ดอกหอม : อยู่ในระหว่างรอการออกดอก

การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด (จากการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล)

ข้อดีของพันธุ์ไม้ : ปลูกได้ดีในพื้นที่ราบ ไม่พบอาการใบไหม้ในช่วงเริ่มปลูก ปลูกง่าย ให้ผลผลิตสูง และต้านทานต่อโรคได้มากกว่าสายพันธุ์อาราบีก้า กาแฟสายพันธุ์นี้เป็นกาแฟที่ปลูกกันทางภาคใต้ของประเทศไทย และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบได้ดีกว่ากาแฟสายพันธุ์อาราบีก้า

ข้อแนะนำ : ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ กาแฟเป็นพืชที่เราผลิตกันเพื่อใช้ในการทำเป็นเครื่องดื่ม ผู้ที่ปลูกควรตระหนักในข้อนี้ด้วย เพราะว่าเราจะได้ชื่นชมดอกเพียงไม่นานเท่านั้น หากท่านทำใจได้ในเรื่องนี้ก็ควรปลูก จำนวนต้นที่แนะนำให้ปลูกคือเพียง 1- 2 ต้นก็เพียงพอ มีความต้องการแสงแดดสูงกว่าสายพันธุ์อาราบิก้าเล็กน้อย (60-70%) หากต้องการให้ออกดอกบ่อยๆ ควรเด็ดผลที่ติดภายหลังดอกบานทิ้งให้หมด (โดยธรรมชาติของพันธุ์ไม้ที่มีผล จะส่งอาหารที่สังเคราะห์ได้ไปเลี้ยงผล หากผลถูกทำลาย อาหารที่มีอยู่จะใช้ในกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งการออกดอกในช่วงเวลาที่เร็วขึ้น)

ข้อมูลอื่นๆ : ประเทศที่ผลิตกาแฟ (เรียงจากมากไปหาน้อย) บราซิล เวียดนาม โคลัมเบีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก อินเดีย โกตดิวัวร์ เอธิโอเปีย กัวเตมาลา และไทย (คิดเป็นร้อยละ 1.12 ของผลผลิตโลก)



ชนิดของกาแฟในรูปแบบต่างๆ มีดังนี้



เอสเปรสโซ (Espresso) - เป็นกาแฟที่ถูกเตรียมด้วยเครื่องพิเศษจากเมล็ดกาแฟบดละเอียด ถูกขับผ่านออกมาในรูปของไอน้ำภายใต้ความดันสูง กรรมวิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 18-25 วินาที 1 ช็อทของเอสเปรสโซมีปริมาณ 1-2 ออนซ์ ผิวหน้าของกาแฟจะเป็นฟองครีมสีทอง ซึ่งควรจะใส่ด้วยถ้วยที่จะเสริฟ โดยตรง

คาปูชิโน (Cappucino) - เป็นเครื่องดื่มเอสเปรสโซที่มีการใส่นมและฟองนมลงไปในส่วนที่เหลือของถ้วยในอัตราส่วนที่เท่ากัน ลาเต้ (Latta) - เป็นเครื่องดื่มเอสเปรสโซที่เติมนมร้อนลงไป แล้วปิดหน้าด้วยฟองนมจำนวนเล็กน้อย (ประมาณ 1/2 นิ้ว) มอคคา (Mocha) - เป็นเครื่องดื่มเอสเปรสโซที่มีการผสมน้ำเชื่อมช็อกโกแลตและนมร้อนลงไป ก่อนที่จะปิดด้วยวิปครีม  

มอคคา ก็คือลาเต้ที่แต่งกลิ่นรสด้วยน้ำเชื่อมรสช็อกโกแลตนั่นเอง

อเมริกาโน (Americano) อเมริกาโน - ก็คือเครื่องดื่มเอสเปรสโซที่ถูกทำให้เจือจางลงด้วยน้ำร้อน เพื่อทำให้ได้กาแฟรสชาติเยี่ยมเต็มถ้วย 





ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก happy cup นะคะ


















 







ประวัติและความเป็นมาของกาแฟ (Coffee History)

ความคิดเห็น
inspiration profile inspiration
อะโยโย่  พี่หนึ่ง ครับ กดเลือก HTML ก่อนนะครับ  อันนี้เดี๋ยวแก้ใหม้ อิอิ  อันแรก ๆ 
TapiocaPudding profile TapiocaPudding
อ้างอิง จาก inspiration เมื่อ 28/5/2554 21:51:00

อะโยโย่  พี่หนึ่ง ครับ กดเลือก HTML ก่อนนะครับ  อันนี้เดี๋ยวแก้ใหม้ อิอิ  อันแรก ๆ 

แหะ แหะ ทำไมรูปพี่มันใหญ่จังหว่าาาาา หุหุ
inspiration profile inspiration
อุอุ พี่เล่นโค้ดซะ สนุกเลยนะครับ พี่ครับ เกินหน้าเกินตาและ อิอิ
TapiocaPudding profile TapiocaPudding
อ้างอิง จาก inspiration เมื่อ 28/5/2554 23:50:00

อุอุ พี่เล่นโค้ดซะ สนุกเลยนะครับ พี่ครับ เกินหน้าเกินตาและ อิอิ

ยังไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่่ ต้องพยายามอีกเยอะเลยเนาะะะะ

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

12 ปีที่ผ่านมา
TapiocaPudding Icon ร้านในตำนาน "ราย็อง" อ่าน 1,437 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
TapiocaPudding Icon คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับกาแฟ อ่าน 2,617 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
TapiocaPudding Icon "ทายนิสัยจากการดื่มกาแฟ" อ่าน 1,632 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา