วิธีการลดความดันโลหิตโดยไม่ใช้ยา

inspiration profile image inspiration


น้ำหนักที่เกินเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน  โรคหลอดเลือดสมอง  โรคเบาหวาน  มะเร็งบางชนิด  และความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง หมายถึง  ความดันโลหิตขณะหัวใจกำลังบีบตัว (ตัวบน)สูงกว่า 140 มิลลิเมตร ปรอท  หรือความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว(ตัวล่าง)สูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท  และความดันโลหิตสูงก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน  และโรคหลอดเลือดสมอง  โรคไต และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้มากขึ้น

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น  ก็เพิ่มความดันโลหิตสูงเช่นกันครับ  และโดยทั่วไปแล้วโรคความดันโลหิตสูง จะพบในคนที่อ้วนมากกว่าถึง 1.54 – 2.42 เท่าขึ้นกับอายุด้วยครับ

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน เป็น สาเหตุการเสียชีวิตสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง  และความดันโลหิตสูงก็เป็นความเสี่ยงของสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญนี้  ถ้าควบคุมและรักษาโรคความดันโลหิตที่สูงก็จะทำให้ลดความเสี่ยงนี้เป็นอย่างมากครับ

ดังนั้นการควบคุมความดันโลหิตมีผลอย่างมากที่จะลดอัตราการเสียชีวิตของโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ  และการรักษาความดันโลหิตสูงในหลายการศึกษาก็สามารถลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงสมอง  ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน และลดอัตราการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้ระหว่าง 20-50%  โดยที่ประมาณว่าความดันโลหิตตัวบนที่ลดลงได้ 12 มิลลิเมตรปรอทในระยะเวลา 10 ปีจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ 10%   และความดันโลหิตตัวล่างที่ลดลงได้ 5 มิลลิเมตรปรอทจะลดอัตรการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันได้ 15% และลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ 27%

ความท้าทายอยู่ที่  ทำอย่างไรจึงจะควบคุมความดันให้ลงได้เป็นผลสำเร็จ   แม้ว่าการรักษาด้วยยาลดความดันก็มีประสิทธิผล   แต่ว่า การลดความอ้วนกลับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าในการควบคุมความดันให้ได้ในระยะยาว

มีการค้นคว้าที่สรุปจากการศึกษาอีก 25 การศึกษาว่า  น้ำหนักที่ลดลงทุกๆ 1 กิโลกรัม ความดันโลหิตจะลดลง 1 มิลลิเมตรปรอท

นั่นคือยิ่งคุณน้ำหนักลดลงได้มากเท่าไหร่  ความดันก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น 1 กิโลกรัม ต่อ 1 มิลลิเมตรปรอท   และนอกจากนี้การลดน้ำหนักก็ยังมีผลพลอยได้อื่นๆอีกเช่น การลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน  การลดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว  การควบคุมสมดุลของเกลือโซเดียมผ่านการทำงานของฮอร์โมนเรนิน เป็นต้น

และการลดน้ำหนักมักจะอยู่ที่การรับประทานอาหาร  ดังนั้นอาหารก็มีส่วนในการควบคุมน้ำหนัก

ยิ่งคุณรับประทานเกลือมากเท่าไหร่  ยิ่งเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น   มีการศึกษาที่พบว่าถ้าคุณรับประทานเกลือมากกว่า 2.5 – 3 กรัม  จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น 2.1-1.1 มิลลิเมตรปรอทขึ้นกับว่าคุณรับประทานเกลือไปมากเพียงใด

นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารก็พบว่าช่วยลดความดันโลหิตด้วยเช่นกัน   อาหารที่มีผัก และผลไม้มากก็สามารถลดความดันได้ระหว่าง 5.3-3.0 มิลลิเมตรปรอท

นอกจากนี้การออกกำลังกายก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลดน้ำหนัก  โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ออกกำลังกาย 45 นาทีต่อวัน ที่ความหนักหน่วงปานกลาง  และสามารถลดความดันลงมาได้อีก3-5 มิลลิเมตรปรอท

ดังนั้นมันชัดเจนแล้วครับว่า  การควบคุมความดันโลหิต เกี่ยวข้องกับน้ำหนักที่ลดลง  ยิ่งคุณอ้วนคุณยิ่งควรลดความอ้วนลงด้วยครับ   ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงเป็นความสำคัญอันดับแรกๆในการควบคุมความดันครับในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันและโรคหลอดเลือดสมอง

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ: ปิติ นิยมศิริวนิช  แหล่งข้อมูลที่มากกว่าและเชื่อถือได้ในเรื่องวิธีการลดน้ำหนักส่วนเกิน คุณสามารถอ่านและรับบทความใหม่ๆทางemailทุก2สัปดาห์ได้ที่

http://www.thaifittips.com

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

12 ปีที่ผ่านมา
TapiocaPudding Icon ร้านในตำนาน "ราย็อง" อ่าน 1,437 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
TapiocaPudding Icon คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับกาแฟ อ่าน 2,617 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
TapiocaPudding Icon "ทายนิสัยจากการดื่มกาแฟ" อ่าน 1,632 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา