เยี่ยมบ้านลุงโฮ

konbandon profile image konbandon



ภาพถ่ายโฮจิมินห์












บ้านลุงโฮที่จังหวัดนครพนม




บ้านหลังน้อยของลูงโฮในจังหวัดนครพนม ซุกตัวอยู่เงียบๆท่ามกลางแมกไม้ร่มครึ้ม ดูดดึงให้เราจินตนาการไปต่างๆนาๆเมื่อครั้งที่ลุงโฮเข้ามาเคลื่อนไหวทำการปฏิวัติสู้กับมหาอำนาจฝรั่งเศษราวปี1928-1929 สิ่งของทุกอย่างแม้ไม่ใช่ของเดิมที่ลุงโฮเคยใช้(ส่งมอบคืนให้เวียดนาม) แต่สิ่งของที่จำลองไว้ก็ถูกจัดวางไว้ที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลง 

ทุกครั้งที่ผมมาเยี่ยมบ้านลุงโฮ สิ่งหนึ่งที่ผมทำทุกครั้งหากไม่ถูกรบกวนจากนักท่องเที่ยว(ผู้ขาดจิตสำนึกในการเคารพสถานที่อันเป็นประวิติศาสตร์ที่สำคัญ) คือ..ผมจะมายืนสงบนิ่ง สบตากับลุงโฮในภาพถ่ายที่ห้อยไว้ข้างฝา แววตาอันแกร่งกล้ามุ่งมั่นและรอยยิ้มน้อยๆหากแต่มองแล้วอบอุ่น เหมือนกับท่านกำลังจะบอกกับผมว่า.."หากเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่กำลังทำอยู่ว่าเป็นความถูกต้อง เราได้ประโยชน์ สังคมได้ประโยชน์ ก็จงลงมือทำอย่าย่อท้อ สักวันหนึ่งเราจะมีชัย"




ครอบครัวลุงโฮ เป็นครอบครัวปัญญาชนผู้รักชาติ



ภาพที่1 เหงียน ซิง ซัก (บิดา)




2 ฮว่าง ถิ ลาน (มารดา)


3 เหงียน ถิ แทง (พี่สาว)




4 เหงียน ซิง เคียม (พี่ชาย)




5 เหงียน อ๊าย ก๊วก (ลุงโฮ)








ผู้หญิงในภาพนี้คือ ทายาทคนสนิทของลุงโฮเมื่อครั้งเ
ข้ามาเคลื่อนไหวในประเทศไทย (ผมเข้า-ออกบ้านลุงโฮบ่อย -เธอขอร้องไม่ให้เอ่ยนาม) ครั้งนี้เธอหลุดปากบอกผมสั้นๆว่า ประวัติศาสตร์ลุงโฮช่วงอยู่ประเทศไทยหลายอย่างคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงมาก จะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ โดยเฉพาะการเข้ามาเคลื่อนไหวในไทยครั้งแรกของลุงโฮ 


ในหนังสือบางเล่มบอกว่าลุงโฮเคลื่อนไหวในอินโดจีนแล้วเข้ามาไทย แต่ในข้อเท็จจริงที่เธอทราบจากบิดา(คนสนิทลุงโฮ) วันนั้นลุงโฮบินตรงมาจากยุโรป(เยอรมัน) ไม่ใช่ในอินโดจีนอย่างที่เข้าใจ


ในตอนท้ายของการสนทนาสั้นๆ เธอกล่าวอย่างน้อยใจว่า บิดาของเธอเป็นคนสนิทของลุงโฮและเคลื่อนไหวปฏิวัติมาด้วยกัน แต่ไม่เคยถูกเอ่ยถึงในประวัติศาสตร์ ความจริงบิดาของเธอเข้ามาเคลื่อนไหวในไทยก่อนลุงโฮกว่าสิบปี สร้างองค์กรลับจนเป็นปึกแผ่นพอสมควรแล้ว ลุงโฮถึงเดินทางเข้ามา ซึ่งก็ได้รับการช่วยเหลือจากบิดาของเธอจนได้มาพำนักที่นครพนม




ลุงโฮในสมรภูมิรบ





ลุงโฮและคณะนายทหารกำลังประชุมเพื่อวางแผนเข้าโจมตี ค่ายเดียนเบียนฟู 
ซึ่งเป็นกองกำลังของฝรั่งเศส





ในที่สุดกองทัพปฏิวัติของลุงโฮก็ได้ชัยชนะ ที่เดียนเบียนฟู







ภาพถ่ายช่วงวัยกลางคน ในสมรภูมิรบ






บ้านพักคนสนิทลุงโฮ ที่เข้ามาเคลื่อนไหวจัดตั้ง ต่อมากลายเป็นที่พักลุงโฮเป็นจุดแรกในจังหวัดนครพนม(บ้านนาจอก เขตอำเภอเมือง)






ต่อมาลุงโฮได้สร้างกระท่อมขึ้นมาอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ด้านหลังของบ้านคนสนิทเพื่อต้อนรับสหายปฏิวัติซึ่งเดิน
ทางมาสมทบเป็นระยะๆ เนื้อที่ราวๆ80ตารางวา ถูกแบ่งออกเป็นสามห้อง คือสองห้องนอน หนึ่งห้องโถง 
เหตุผลที่สร้างห้องนอนขนาดเล็กสองห้อง เพราะสหายปฏิวัติบางคนมีครอบครัวติดตามมาด้วย การนอนรวมกันในห้องโถงเป็นเรื่องไม่สมควร ส่วนตัวลุงโฮนอนรวมในห้องโถงกับสหายปฏิวัติคนอื่นๆ และห้องโถงนั้นยังใช้เป็นสถานที่ทำงานด้วย




โต๊ะกลางห้องโถง จะมีป้านน้ำชาวางเคียงข้างกล้องสูบฝิ่นเสมอ








ที่ทำการสมาคมร่วมมือ (องค์กรลับเคลื่อนไหวการปฏิวัติของลุงโฮ) ในจังหวัดสกลนคร ที่ลุงโอเคยพักอาศัยในราวปี 1928-1929
(อยู่ในระหว่างการสืบค้นว่า ที่ทำการฯในภาพถ่าย อยู่ที่จุดใดของสกลนครในปัจจุบัน)







ภาพชายชรารูปร่างผอม ชอบสูบยาฉุนมวนด้วยใบตองกล้วย แบกจอบแบกเสียมทำงานปลูกผักปลูกข้าวทำงานร่วมกับคนอื่นๆเป็นกิจวัตร เป็นภาพที่คุ้นตาของคนไทยท้องถิ่นบ้านนาจอก-ดอนโมงค์ โดยไม่มีใครระแคะระคายเลยว่า ชายผู้นี้คือผู้นำการปฏิวัติปลดแอกเวียตนาม






เกือบ80ปีของการเกิดและต่อสู้ปฏิวัติของลุงโฮ เราแทบจะไม่ได้ยินนักปฏิวัติท่านนี้พูดออกมาว่า.."รักชาติ" 
เหตุผลที่ผมนำเอาข้อมูลบางด้าน ประวัติศาสตร์บางตอนของลุงโฮ มาให้ทุกท่านได้อ่าน เหตุผลเดียวคือ..ต้องการเตือนสติสำนึกของตัวผมเองและคนไทยทั้งชาติว่า..ไอ้ที่เราแหกปากว่า.."รักชาติ" กันทุกเมื่อเชื่อวัน ในทางปฏิบัติแล้วเราได้ทำมันลงไปบ้างสักเสี้ยวหนึ่งของคำพูดนั้นหรือยัง??




ร่วมเป็นร่วมตายในสมรภูมิกับสหายร่วมอุดมการ









ทำงานหนักทั้งเรื่องเอกสารและในสมรภูมิในการปลดแอกเวียตนามจากฝรั่งเศส
นักปฏิวัติผู่ยืนข้างประชาชน และไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเลยเมื่อเสียชีวิต
เขาจึงกลายเป็นมนุษย์กึ่งพระเจ้าสำหรับชาวเวียตนาม







ที่ทำการสมาคมมิตรภาพไทย-เวียตนาม
จังหวัดนครพนม
ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

konbandon Icon เยี่ยมบ้านลุงโฮ อ่าน 750 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon ต้นยางนา ต้นกำเนิด ขี้กะบอง อ่าน 1,245 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon สะพานขอมแห่งเดียวในประเทศไทย อ่าน 466 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
konbandon Icon เหยา แห่งลุ่มน้ำหนองหาน อ่าน 409 12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา
12 ปีที่ผ่านมา