เปิดสอบ สรุปข้อสอบ แนวข้อสอบสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จ.พิษณุโลก รวม 5 อัตรา (7-11ต.ค.56)

examst profile image examst



ข่าวเปิดสอบ  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก 
รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี พนักงานประจำสำนักงาน 
ช่างเครื่องกล ช่างไฟฟ้า และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป รวม 5 อัตรา 
รับสมัครด้วยตนเอง ตั้งแต่วันที่ 7 - 11 ตุลาคม 2556
 
>>>>  ประกาศ  สวพ.เขตที่ 2 จ.พิษณุโลก    ที่นี่  คลิก!!!  <<<<
 

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัครสอบแข่งขัน  
ชื่อตำแหน่ง :  เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 
ปฏิบัติงานที่ :   ศวพ.อุตรดิตถ์
อัตราเงินเดือน :   9,960  บาท
จำนวนตำแหน่งว่าง :   1  อัตรา
ระดับการศึกษา :   สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)
รายละเอียดวุฒิ :    สาขาวิชาพณิชยการ


ชื่อตำแหน่ง :  เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า
ปฏิบัติงานที่ :  สวพ.เขตที่ 2 จ.พิษณุโลก
อัตราเงินเดือน :   9,110  บาท
จำนวนตำแหน่งว่าง :   1  อัตรา
ระดับการศึกษา :   สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษา  มศ.3  ม.3  และ ม.6
รายละเอียดวุฒิ :    -


ชื่อตำแหน่ง :  ช่างเครื่องกล 
ปฏิบัติงานที่ :   ศวม.พิษณุโลก
อัตราเงินเดือน :   9,960  บาท
จำนวนตำแหน่งว่าง :  1  อัตรา
ระดับการศึกษา :   สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  
รายละเอียดวุฒิ :    สาขาวิชาเครื่องกล ทางช่างกลโรงงาน ทางช่างยนต์ ทางช่างกลโลหะ ทางช่างโลหะ ทางยานยนต์ ทางเครื่องกล


ชื่อตำแหน่ง :  ช่างไฟฟ้า 
ปฏิบัติงานที่ :  สวพ.เขตที่ 2 จ.พิษณุโลก
อัตราเงินเดือน :   9,960  บาท
จำนวนตำแหน่งว่าง :  1  อัตรา
ระดับการศึกษา :   สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)  
รายละเอียดวุฒิ :    สาขาช่างไฟฟ้า ช่างอุตสาหกรรม


ชื่อตำแหน่ง :  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 
ปฏิบัติงานที่ :   ศวม.พิษณุโลก
อัตราเงินเดือน :   15,960  บาท
จำนวนตำแหน่งว่าง :  1  อัตรา
ระดับการศึกษา :   สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
รายละเอียดวุฒิ :    ทุกสาขา





วิธีการรับสมัครสอบแข่งขัน
รับสมัครด้วยตนเอง ตั้งแต่วันที่    7 - 11  ตุลาคม  2556
ณ     สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก  
  
การประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ วัน เวลาสถานที่สอบและระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
ภายในวันที่   17  ตุลาคม  2556
ณ   สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2   จ.พิษณุโลก 
ทางเว็บไซต์   http://www.doa.go.th/oard2
  


ข้อมูลเพิ่มเติม และตัวอย่างแนวข้อสอบ  ติดตามได้ที่นี่  คลิก!!!  

http://sheetthai.com/index.php/topic,9978.0.html



จำหน่ายไฟล์เอกสาร ใหม่ล่าสุดที่กำลังเปิดสอบ 
สำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปติวและเวลาไปหาซื้อหนังสือตามร้าน 
เป็นไฟล์เอกสารส่งทาง e-mail สามารถนำไปปริ้นเพื่ออ่านได้เลย 

ไฟล์  PDF ส่งทาง E-Mail  ราคา  399 บาท 




สนใจติดต่อสั่งซื้อที่ :  วรรณพร 
เบอร์โทรศัพท์ : 089-4220125   [WhatsApp / Line]
E-Mail : exam.st@hotmail.com  
Facebook Page : https://www.facebook.com/exam.sheetthai  
กรุณาชำระเงินที่ : ธนาคารกสิกรไทย   สาขาถนนศรีจันทร์ ขอนแก่น 
ชื่อบัญชี นางสาววรรณพร สอนคำมี  
บัญชีออมทรัพย์เลขที่  428-2-29359-0  
****** อย่าลืมเก็บสลิปใบโอน เพื่อนำมาแจ้งเวลาโอน กับ E-mail เพื่อการจัดส่งด้วยนะคะ *******



ข้อสอบจัดส่งภายในวันที่โอนเงิน ไม่เกิน "เที่ยงคืน" คะ
*****อย่าลืมตรวจสอบที่กล่องขาเข้า  และ  อีเมลล์ขยะ*****
หากยังไม่ได้รับ ให้ติดต่อกลับมาที่  089-4220125 หรือทางอีเมล์ ได้เลยคะ

เปิดสอบ สรุปข้อสอบ แนวข้อสอบสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จ.พิษณุโลก รวม 5 อัตรา (7-11ต.ค.56)

ความคิดเห็น
examst profile examst
1. ข้อใดกล่าวถึงการเกษตรแบบผสมผสานไม่ถูกต้อง 
ก เกษตรทฤษฎีใหม่ ข เกษตรเพื่อคุณภาพชีวิต 
ค เกษตรแบบยั่งยืน ง เกษตรแบบยังชีพ 
ตอบ ค เกษตรแบบยั่งยืน 
2. ข้อใดคือประโยชน์ของการเกษตรแบบผสมผสาน 
ก. มีกิจกรรมหลากหลาย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ใช้ทรัพยากรในไร่นาอย่างคุ้มค่า มีอาหารบริโภคในครอบครัว 
ข ผลประโยชน์ที่ได้รับทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
ค ทำให้สภาพไร่นาได้รับการบำรุง การดูแล และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี 
ง ใช้ประโยชน์จากที่ดินได้อย่างเต็มที่และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำไร่นา 
ตอบ ข ผลประโยชน์ที่ได้รับทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
3. ข้อใด ไม่ใช่ ส่วนประกอบของดิน 
ก อินทรียวัตถุ ข น้ำ 
ค แร่ธาตุ ง. เม็ดดิน 
ตอบ ข น้ำ 
4. สิ่งมีชีวิตในดิน เช่น แมลง ไส้เดือน เชื้อรา แบคทีเรีย เป็นต้น มีประโยชน์อย่างไร 
ก ทำให้เกิดพลังงานนำมาใช้ในการดูดซับน้ำ 
ข ช่วยทำให้ดินร่วนซุย 
ค ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน 
ง ทำให้เกิดการระบายอากาศในดินได้ดี 
ตอบ ง ทำให้เกิดการระบายอากาศในดินได้ดี 
5. ข้อใดกล่าวถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของสิ่งมีชีวิตไม่ถูกต้อง 
ก ปุ๋ยผสม ข ปุ๋ยคอก 
ค ปุ๋ยหมัก ง ปุ๋ยพืชสด 
ตอบ ง ปุ๋ยพืชสด 
6. คุณสมบัติของปุ๋ยเคมีมีลักษณะใด 
ก ทำให้รากพืชสามารถหยั่งรากลงลึกและแผ่กว้าง 
ข ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำ ถ่ายเทน้ำ และระบายอากาศได้ดี 
ค สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชแต่ละชนิดได้ 
ง เป็นที่อยู่และเป็นอาหารแก่จุลินทรีย์ที่จะช่วยย่อยทำลายซากพืชซากสัตว์ 
ตอบ ข ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำ ถ่ายเทน้ำ และระบายอากาศได้ดี 
7. ข้อใดคือความหมายของเกษตรทฤษฎีใหม่ 
ก. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น 
ข. ทำให้เกิดผลผลิตทางการเกษตรตลอดทั้งปี 
ค. เป็นการแบ่งสัดส่วนในการใช้พื้นที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
ง. เกษตรกรได้บริหารและจัดการเกี่ยวกับดิน น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเกิดผลผลิตและรายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวอย่างเพียงพอ
ตอบ ค. เป็นการแบ่งสัดส่วนในการใช้พื้นที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
8. ลักษณะพันธุ์พืชที่คัดเลือก ควรเป็นอย่างไร 
ก ให้ผลผลิตสูง รสชาติดี รูปร่างสวยงาม ข ให้ผลผลิตตามธรรมชาติ 
ค สามารถปลูกได้ในทุกที่ ง ดูแลพืชตามฤดูกาลปกติ 
ตอบ ค สามารถปลูกได้ในทุกที่ 
9. การตอนกิ่ง มีความหมายว่าอย่างไร 
ก. การนำกิ่งพันธุ์ดีมาเสียบบนสำต้นของต้นอื่นเพื่อให้เติบโตเป็นต้นใหม่ 
ข. การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืชสองต้นเข้าด้วยกันโดยต้นหนึ่งเป็นต้นตอและอีกต้นหนึ่งเป็นพันธุ์ดี 
ค. การทำให้กิ่งพืชเกิดรากขึ้นขณะติดอยู่กับต้นแม่แล้วตัดไปปลูกเป็นพืชต้นใหม่มีลักษณะเหมือนต้นเดิม แต่ไม่มีรากแก้ว 
ง. การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ราก ลำต้น ไปปลูกในดินที่เหมาะสมหรือ วัสดุเพาะชำ และเกิดการงอกหรือยอดใหม่ตรงบริเวณที่ตัด 
ตอบ ข. การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืชสองต้นเข้าด้วยกันโดยต้นหนึ่งเป็นต้นตอและอีกต้นหนึ่งเป็นพันธุ์ดี 
10. ข้อใดกล่าวถึงปัจจัยการเจริญเติบโตของพืชไม่ถูกต้อง 
ก น้ำ ข สารละลาย 
ค ธาตุอาหาร ง อุณหภูมิ 
ตอบ ค ธาตุอาหาร 
11. ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยมือควรใช้กับพืชผักและไม้ผลชนิดใด 
ก ขิงกับพริก ข ข้าวโพดกับสับปะรด 
ค มันสำปะหลังกับคะน้า ง ใบโหระพากับผักบุ้ง 
ตอบ ค มันสำปะหลังกับคะน้า 
12. ข้อใดคือการกำจัดวัชพืชโดยทางชีวภาพ 
ก ใช้วิธีการตามธรรมชาติ ใช้สิ่งมีชีวิตด้วยกันเป็นตัวกำจัด 
ข ใช้สารเคมีเป็นตัวกำจัดวัชพืชโดยการฉีดพ่น 
ค การถอนวัชพืชที่งอกใหม่ทิ้ง 
ง การตัดต้นวัชพืชให้เตี้ยลง 
ตอบ ก ใช้วิธีการตามธรรมชาติ ใช้สิ่งมีชีวิตด้วยกันเป็นตัวกำจัด 
13. การทำความสะอาดผลผลิตอาจใช้น้ำผสมกับอะไร เพื่อฆ่าเชื้อโรคและปลอดภัยกับผู้บริโภค 
ก น้ำส้มสายชู ข เกลือ 
ค คลอรีน ง น้ำยาล้างจาน 
ตอบ ข เกลือ 
14. ข้อเสียของการบ่มผลไม้แบบใช้ถ่านแก๊สอะเซทิลีน คือเรื่องใด 
ก ความสม่ำเสมอในการสุกของผลไม้ ข เกิดความชื้นขึ้นกับผลไม้ 
ค สีของผลไม้คล้ำหมองลง ง รสชาติของผลไม้เปลี่ยนไป 
ตอบ ง รสชาติของผลไม้เปลี่ยนไป 
15. การแปรรูปผลผลิตก่อให้เกิดประโยชน์ ยกเว้น ข้อใด 
ก เกิดอาหารรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น 
ข ทำให้คุณภาพของการผลิตสูงขึ้น 
ค ผลผลิตมีรูปร่างลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 
ง สามารถเก็บรักษาผลผลิตไว้ใช้ได้นาน 
ตอบ ก เกิดอาหารรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น 
examst profile examst
แนวข้อสอบกรมวิชาการเกษตร ทุกตำแหน่ง ใหม่ล่าสุด
เอกสารเตรียมอ่านสอบกรมวิชาการเกษตร
1. ข้อมูลเกี่ยวกับชุดดินของเมืองไทย  ดินเปรี้ยว  ดินเค็ม  แก้ไขอย่างไร  องค์ประกอบของดินมีอะไรบ้าง
ดินเปรี้ยว หมายถึง ดินที่เป็นกรด ปัจจัยที่ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น เช่น การย่อยสลายของอินทรียสารในดิน การใส่ปุ๋ยเคมี เป็นต้น
1.แก้ไขโดยการเติมปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) หรือดินมาร์ล (คือดินที่เกิดจากการผุพังและสลายตัวของหินปูนพบมากที่จ.สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์)
2.ลดความเป็นกรดโดยการระบายน้ำเข้ามาขังในพื้นที่  1-2 สัปดาห์แล้วระบายน้ำทิ้งวิธีนี้จะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอ
ดินเค็มหมายถึง ดินที่มีเกลืออยู่เป็นปริมาณมาก เมื่อเกลือละลายน้ำทำให้ความเข้มข้นของเกลือในดินสูง
- แก้ไขโดยการเติมแคลเซียมซัลเฟต หรือผงกำมะถัน เพื่อปรับสภาพของเกลือในดินให้กลายเป็นเกลือโซเดียมซัลเฟต(เป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ดี) จากนั้นใช้น้ำชะล้างระบายน้ำทิ้ง
ดิน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ
1. อนินทรียวัตถุ
อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในดินทั่วไป ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่
อนินทรียวัตถุ อยู่ในดินในลักษณะของชิ้นส่วนที่เรียกว่า อนุภาคดิน ซึ่งมีหลายรูปทรงและมีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มอนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-0.05 ม.ม.)
2. กลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-0.002 ม.ม.)
3.กลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง < 0.002 ม.ม)
อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุในดินนี้ เป็นส่วนที่สำคัญในการควบคุมลักษณะของเนื้อดิน เป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหารพืช และเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน นอกจากนี้อนุภาคที่อยู่ในกลุ่มขนาดดินเหนียวยังเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเกิดกระบวนการทางเคมีต่างๆ ในดินด้วย
 
2. อินทรียวัตถุ
                อินทรียวัตถุในดิน ในที่นี้มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่ส่วนของซากพืชซากสัตว์ที่กำลังสลายตัว เซลล์จุลินทรีย์ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และในส่วนที่ตายแล้ว ตลอดจนสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย หรือส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่รวมถึงรากพืช หรือเซษซากพืช หรือสัตว์ที่ยังไม่มีการย่อยสลาย
อินทรียวัตถุในดินนี้ เป็นแหล่งสำคัญของธาตุอาหารพืช และป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่างๆ ของดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น โครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ การดูดซับน้ำและธาตุอาหารของดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินอีกด้วย
3. น้ำในดิน
น้ำในดิน หมายถึง ส่วนของน้ำที่พบอยู่ในช่องว่างระหว่างอนุภาคดินหรือเม็ดดิน มีความสำคัญมากต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และเป็นส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายอาหารพืชจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช
4. อากาศในดิน
                หมายถึง ส่วนของก๊าซต่างๆ ที่แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินในส่วนที่ไม่มีน้ำอยู่ ก๊าซที่พบโดยทั่วไปในดิน คือ ก๊าซไนโตรเจน (N2) ออกซิเจน (O2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งรากพืชและจุลินทรีย์ดินใช้ในการหายใจ และสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต
ดิน..ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก
พืชส่วนใหญ่มักจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความร่วนซุย มีปริมาณน้ำ อากาศ และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างเพียงพอ
ดังนั้นดินที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชโดยทั่วไปจึงควรมีสัดส่วนขององค์ประกอบที่เป็นของแข็ง หรืออนินทรีย์วัตถุซึ่งได้มาจากการสลายตัวของหินและแร่ อันเป็นแหล่งที่มาของธาตุอาหารพืช และอินทรียวัตถุที่ได้มาจากการสลายตัวของเศษซากสิ่งมีชีวิต อยู่รวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาตรทั้งหมด
 
สำหรับส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งนั้นควรจะเป็นที่อยู่ของน้ำและอากาศ ซึ่งจะแทรกอยู่ตามช่องว่างเล็กๆ ในดิน โดยช่องว่างเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการเรียงตัวเกาะยึดกันของอนุภาคขนาดต่างๆ ในดิน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำและอากาศในดินจะมีอยู่ได้มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของช่องว่างที่มีอยู่ในดินนั้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตามในสภาพของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชนั้น จำเป็นต้องมีน้ำและอากาศในดินในปริมาณที่สมดุลกัน เพราะถ้าช่องว่างในดินมีอากาศอยู่มากก็จะมีที่ให้น้ำเข้ามาแทรกอยู่ได้น้อย พืชที่ปลูกก็จะเหี่ยวเฉาเพราะขาดน้ำ แต่ถ้าในช่องว่างมีน้ำมากเกินไป รากพืชก็จะขาดอากาศหายใจ ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้
กล่าวโดยสรุปได้ว่า …ดินที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกนั้น  ในดินทั้งหมด 100 ส่วน ควรจะมีส่วนที่เป็นของแข็ง 50 ส่วน แบ่งเป็น อนินทรียวัตถุประมาณ 45 ส่วน อินทรียวัตถุ 5 ส่วน และส่วนของช่องว่าง 50 ส่วน ซึ่งประกอบด้วยน้ำ 25 ส่วน และอากาศอีก 25 ส่วน หรือ มีสัดส่วนของ อนินทรียวัตถุ : อินทรียวัตถุ : น้ำ : อากาศ เท่ากับ 45 : 5 : 25 : 25
 
2. จงอธิบายข้อมูลทั่วไปของกรมวิชาการเกษตร วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ภารกิจ อำนาจหน้าที่ 
วิสัยทัศน์
กรมวิชาการเกษตรเป็นองค์กรนำด้านการวิจัยและพัฒนาพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และเป็นศูนย์บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ในระดับสากล โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ค่านิยม
ซื่อสัตย์  โปร่งใส  งานวิจัยมีคุณภาพ
วัฒนธรรม 
รักองค์กร ทำงานอย่างมีเป้าหมาย และมุ่งผลสัมฤทธิ์
เป้าประสงค์
๑. ได้พันธุ์พืช เครื่องจักรกลการเกษตร เทคโนโลยี และปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมต่อการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า
๒. ได้แหล่งผลิต ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืชมีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล
๓. ให้เกษตรกรมีความรู้ด้านการผลิตพืช ทักษะด้านพืช และมีความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เกิดประโยชน์ต่อการ พัฒนาการเกษตรของประเทศ
ภารกิจ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา  ๘ ฉ  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ.๒๕๓๕  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔)  พ.ศ.๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวง พ.ศ.๒๕๕๔ ให้กรมวิชาการเกษตรมีภารกิจเกี่ยวกับพืช โดยการศึกษา วิจัย และพัฒนาพืช  ให้ได้พืชพันธุ์ดี เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ  เอกชน และเกษตรกร ตลอดจนบริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรอง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์พืช เพื่อให้บริการการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ
อำนาจหน้าที่
๑. ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการกักพืช  กฎหมายว่าด้วยปุ๋ย  กฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๒. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลองและพัฒนาวิชาการเกษตรด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับพืช
๓. ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และให้คําแนะนําเกี่ยวกับเรื่องดินน้ำปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืช การบริการส่งออกสินค้าเกษตรและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๔. ให้บริการวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีการเกษตรแก่เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ เกษตรกร และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
๕. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
การแบ่งส่วนราชการกรมวิชาการเกษตร   มีดังนี้
(๑)   สํานักงานเลขานุการกรม
(๒)   กองการเจ้าหน้าที่
(๓)   กองคลัง
(๔)   กองแผนงานและวิชาการ
(๕)   ศูนย์สารสนเทศ
(๖)   สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
(๗)   สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
(๘)   สถาบันวิจัยพืชสวน
(๙)   สถาบันวิจัยยาง
(๑๐)   สํานักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
(๑๑)   สํานักคุ้มครองพันธุ์พืช
(๑๒)   สํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
(๑๓)   สํานักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
(๑๔)   สํานักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
(๑๕) – (๒๒)  สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๑ – ๘
(๒๓)   สํานักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน