รู้จัก "ครอบแก้ว" ศาสตร์จีน บำบัดอาการปวดเมื่อย

jiraporn66 profile image jiraporn66

รู้จัก "ครอบแก้ว" ศาสตร์จีน บำบัดอาการปวดเมื่อย

ครอบแก้ว (Cupping Therapy) คืออะไร ครอบแก้ว (Cupping Therapy) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนเป็นการรักษาบำบัดอาการปวดเมื่อยแบบแพทย์แผนจีนโบราณ โดยการนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางไว้บนผิวหนังพร้อมกับใช้ความร้อนให้แก้วดูดผิวหนังหรือกล้ามเนื้อขึ้น อุปกรณ์ในการบำบัดด้วยวิธีครอบแก้วมีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่มักทำจากกระจก ไม้ไผ่ เครื่องเคลือบดินเผา และยางทำจากซิลิคอน

ซึ่งการบำบัดด้วยวิธีนี้จะช่วยปรับสมดุลของหยินและหยางตามความเชื่อของชาวจีน ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดคล่องขึ้น บรรเทาอาการปวดเมื่อย ขจัดสารพิษออกจากร่างกายคล้ายกับการทำ กัวซา (Gua Sha) และยังสามารถบ่งบอกถึงโรคต่างๆ ที่คุณมีความเสี่ยงจะเป็นอีกด้วย

 

ครอบแก้วมีกี่ประเภท

การรักษาด้วยการครอบแก้ว (Cupping Therapy) สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

การครอบแบบแห้ง ให้เพียงเทคนิคการดูดชั้นผิวหนังเท่านั้น การครอบแบบเปียก อาจเกี่ยวข้องกับการดูดชั้นผิวหนัง และควบคุมการตกเลือดร่วมด้วย

การครอบทั้ง 2 ประเภท แพทย์ที่ทำการบำบัดของคุณจะทำการวิเคราะห์อาการ และเลือกประเภทการครอบที่เหมาะสม ในระหว่างการครอบแก้วนั้นแพทย์จะมีการใส่สารไวไฟ เช่น แอลกอฮอล์ รวมถึงสมุนไพรลงบนสำลีก้อนหรือกระดาษเฉพาะ และทำการจุดไฟ เพื่อนำไปวนภายในแก้วครอบจากนั้นจะวางไว้บนหลังเพื่อทำการดูดเนื้อแต่ละตำแหน่งของเราขึ้น เรียกว่า ระบบสุญญากาศ แพทย์จะทำการทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที เพื่อให้ความร้อนจากไฟและสมุนไพรทำการบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการดึงแก้วครอบออกอาจมีอาการเจ็บเล็กน้อย และเกิดเป็นรอยสีแดงอมม่วงร่วมด้วย นั่นหมายถึงว่าจุดที่คุณเจ็บ หรือมีสีของรอยที่ชัดเข้มคือจุดที่คุณกำลังมีอาการปวดเมื่อย มีสารพิษในร่างกาย หรือสามารถบ่งบอกถึงโรคที่คุณกำลังเป็นอยู่ได้

หากคุณกำลังกังวลถึงรอยแก้วบริเวณผิว รอยนี้สามารถหายเองได้ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ ตามพื้นผิวและการพักฝื้นร่างกายแต่ละบุคคล

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกเลย :   slotxo 

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
lily9889 Icon Coronavirus: NI students in England can travel home for Christmas อ่าน 288 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
lily9889 Icon Covid in Scotland: Teacher worries as absences rise อ่าน 303 3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา
3 ปีที่ผ่านมา