การเบิกค่าเช่าซื้อบ้านกรณีที่สามีเป็นคนกู้เงินสร้างบ้าน

guest profile image guest
เรียนถามคุณสมเจต
  ดิฉันบรรจุที่จังหวัด  ก  และย้ายมาทำงานในจังหวัด ข ซึ่งอาศัยอยู่บ้านสามี  และบ้านสามีกำลังผ่อนชำระกับ ธอส. ยังเหลือเวลาที่ต้องผ่อนอีก 28 ปี และบ้านหลังนี้สามีได้กู้เงินมาสร้างก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสกับดิฉัน  จึงอยากทราบว่า
1.ดิฉันจะนำหลักฐานการผ่อนชำระของสามีมาเบิกค่าเช่าซื้อบ้านได้หรือไม่คะ (สามีไม่ได้รับราชการ)
2.ถ้าเบิกได้ จะเบิกได้อีกเท่าไหร่คะ เต็มจำนวนเงินกู้ส่วนที่เหลือ หรือว่าแค่ครึ่งเดียว

ความคิดเห็น
guest profile guest
ตอบไปแล้ว   เบิกไม่ได้ ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน  เนื่องจากมีเคหสถุานอันเป็นกรรมสิทธิของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ปฎิบัติราชการ
guest profile guest

 ตาม พรฎ. (ฉบับที่2 ) พ.ศ. 2550 มาตรา ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น
() ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว
() มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน
() ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง
ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย
 
กรณีนี้ ไม่เข้า ม.7 (2) หรือครับท่าน   (หรือเพราะว่าเป็นการกู้เงินมาสร้างบ้านไม่ได้เช่าซื้อบ้านกับสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด)

guest profile guest
บ้านหลังนั้นเป็นของผู้ชายที่เป็นสามีซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว เรียกว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผ้ชายฝ่ายเดียว  ไม่ใช่สินสมรส  จึงไม่สามารถนำบ้านหลังนั้นมาเบิกเป็นค่าเช่าบ้านได้ และถือว่ามีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิของคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่
guest profile guest
ขอโทษนะค๊ะท่านสมเจตน์พอดีว่าอ่านแล้วกรณีนี้ไม่เข้ามาตรา 17 (1)  มีข้อความว่า..ตนเองหรือคู่สมรส  ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้ (เพราะคู่สมรสยังไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ )
guest profile guest
คุณอ่านคำถามให้เข้าใจ ผมตอบไปวาไม่สามารถนำบ้านสามี มาเบิกเป็นค่าเช่าบ้านได้  เพราะไม่ใช่สินสมรส  แต่ถ้าถามว่าจะซื้อบ้านใหม่ หรือจะเช่าบ้านคนอื่นอยู่ ค่อยมาคุยกันใหม่
คุณขอแสดงความคิดเห็นอีกคน  คนต้องเข้าใจคำว่า ตนเองหรือคู่สมรส  แสดงว่าขณะนั้นได้สมรสแล้ว อย่าเข้าใจผิดความหมายจะผิดไปด้วย  ขณะที่สามีมีบ้านนั้น ยังไม่ได้เป็นคู่สมรส  จึงเป็นบ้านของฝ่ายชายแต่เพียงผู้เดียว ผมพยายามให้เข้าใจตรงจุดนี้  เพราะเป็นสาระสำคัญทำให้ไม่เกิดสิทธิ
guest profile guest
แล้วถ้าหากซื้อบ้านใหม่อีกหลังที่เป็นชื่อของผู้มีสิทธิจะสามารถนำมาเบิกค่าเช่าซื้อได้ไหมคะ
guest profile guest
แล้วถ้าหากซื้อบ้านใหม่อีกหลังที่เป็นชื่อของผู้มีสิทธิจะสามารถนำมาเบิกค่าเช่าซื้อได้ไหมคะ
guest profile guest

มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามมาตรา 7 โดยไม่ติดมาตรา 7(1)(2)(3) ย่อมสามารถทำได้

guest profile guest

กรณีนี้หากไม่มีเงินพอที่จะซื้อบ้านหลังใหม่ สามารถนำบ้านหลังเดิมที่สามีผ่อนชำระอยู่มากู้ใหม่หรือกู้ร่วมกับผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเพื่อขอเบิกค่าเช่าซื้อจะได้ไหมคะ เพราะเป้นการอาศัยอยู่จริง ผ่อนจริง

guest profile guest
ไม่ได้ เพราะเป็นบ้านของสามี เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ก็ไม่สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้
guest profile guest
ขอรบกวนอีกครั้งนะคะ กรณีที่ซื้อบ้านใหม่เป็นชื่อของผู้มีสิทธิ หากกู้คนเดียวไม่ผ่านสามารถกู้ร่วมกับสามีจะผิดไหมคะ และจะเบิกค่าเช่าซื้อได้ไหมคะ (เพราะสามีก็มีบ้านอยู่ก่อนแล้ว)
ขอบคุณล่วงหน้าคะ
guest profile guest
กู้ร่วมกับสามีถือเป็นบุคคลคนเดียวกัน  แต่ที่สงสัยคือสามีมีบ้านแล้ว หมายความว่ายังไง เพราะถ้าสามีมีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิของตนเองในท้องที่ที่คุณปฎิบัติราชการคุณจะไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน
guest profile guest

คือ สามีได้กู้ร่วมกับพ่อสามีในการซื้อบ้าน แต่ซื้อก่อนจดทะเบียนสมรสคะ จะเป็นกรณีคล้ายกันกับเจ้าของกระทู้ จากที่อ่านมาจึงตัดสินใจที่จะซื้อบ้านใหม่เพื่อแยกครอบครัว แต่กลัวจะกู้ไม่ผ่านเพราะเงินเดือนน้อย หากกู้ร่วมกับสามีแล้วจะนำมาเบิกค่าเช่าซื้อจะได้ไหมคะ
*****ขอบคุณคะ*****

guest profile guest
ได้ครับ  แต่ถ้าสามีคุณผ่อนชำระราคาบ้านหลังที่กู้ร่วมกับคุณพ่อเสร็จเมื่อไร ก็หมดสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านทันที

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

Dee555 Icon เบิกค่าเช่าบ้าน อ่าน 831 1 ปีที่ผ่านมา
1 ปีที่ผ่านมา
2 ปีที่ผ่านมา
khwantrakul Icon การเบิกค่าเช่าซื้อบ้าน 1 อ่าน 4,187 5 ปีที่ผ่านมา
5 ปีที่ผ่านมา
Sticker Icon เบิกค่าเช่าบ้าน อ่าน 3,175 6 ปีที่ผ่านมา
6 ปีที่ผ่านมา