มหัศจรรย์แห่งการให้ (ตอนที่ 1)

krukrub profile image krukrub

ชีวิตของคนเรามักจะเกี่ยวพันอยู่กับสองสิ่งคือ การขอ และการให้เพราะตั้งแต่เกิดมาเราก็จะมีความต้องการให้ความอยากเกิดขึ้นมาในจิตใจอยู่เสมอ  ตั้งแต่เป็นเด็กเมื่ออยากได้สิ่งใดเราก็มักจะใช้วิธีการขอ เช่น ขอเงินพ่อแม่ไปซื้อของเล่น  ซื้อขนม  เมื่อไม่ได้ก็จะใช้วิธีการต่างๆ นานา เช่น การร้องไห้เรียกร้องความสนใจ  เราจึงมักเคยชินอยู่กับการขอ  เพระเมื่อขอแล้วก็จะได้สิ่งที่ต้องการกลับมาเสมอ  ดังนั้นคนเราจึงเกิดการเรียนรู้ว่า  เมื่ออยากได้สิ่งใดก็ต้องขอก่อน   กาลเวลาผ่านไป.....

 

เมื่อเติบโตขึ้นความต้องการมักจะมีเพิ่มมากขึ้น  และอยากได้ในสิ่งที่ได้มายากขึ้น  เรียกได้ว่า  ความต้องการมีความละเอียดซับซ้อนมากขึ้น   เช่น  ต้องการคนรัก   ต้องการชื่อเสียง  ต้องการการยอมรับ  ต้องการเงินจำนวนมาก ฯลฯ  เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการก็มักจะเกิดความทุกข์  บางคนใช้วิธีลดความอยากหรือกิเลสตัณหาซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าเพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ตนเองก่อน  ในทางตรงกันข้ามบางคนเสาะแสวงหาวิธีการต่างๆ สารพัดเพื่อที่จะได้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการ  บ้างก็สำเร็จ  บ้างก็ล้มเหลว  แต่ก็ยังต้องพยายามดิ้นรน เสาะแสวงหากันต่อไป 

 

ต่อมาเราได้ยินคำกล่าว  จงอย่าลังเลที่จะเป็นผู้ให้หรือเป็นฝ่ายหยิบยื่นให้ก่อน  และ ยิ่งให้  ยิ่งได้รับ  หลายคนนำมาปฏิบัติในชีวิตจริง  ซึ่งก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง  หลายคนรู้สึกว่าตนเองให้มากแล้วแต่เหตุใดทำไมไม่ได้รับอะไรกลับมาตอบแทนบ้างเลย  จึงรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ   และไม่ต้องการที่จะให้อีกต่อไป   เพราะรู้สึกว่าให้แล้วไม่เห็นได้รับอะไรตอบแทนกลับมา   แต่จงยึดกับคติที่ว่า  จงอย่าหยุดให้  เพราะเมื่อหยุดให้  ชีวิตจะหมดความหมาย  การให้จึงต้องมีความเพียรเป็นตัวกำกับเพราะจะได้ไม่ท้อแท้ง่าย   ทั้งนี้การให้ที่ดีต้องให้ถูกคน  ถูกเวลา  ถ้าให้ผิดคนจะเป็นการให้ที่สูญเปล่า  ถึงสิ่งที่ให้จะเป็นของที่มีค่าแต่หากคนรับไม่ต้องการสิ่งนั้นแล้วผู้รับย่อมไม่เกิดความซาบซึ้งหรือสำนึกรู้คุณเข้าทำนองทำบุญคนไม่ขึ้นเหมือนการยื่นแก้วให้วานร  การให้ควรให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยไม่หวังผลตอบแทน  ให้แล้วตนเองไม่เดือดร้อน  จึงจะเป็นการให้ที่มีความหมายและเกิดผลอย่างแท้จริง  นอกจากนั้นไม่ควรให้ในสิ่งที่เป็นโทษแก่ผู้รับ เช่น ให้เหล้า ให้บุหรี่  ให้คลิปหรือภาพลามกอนาจาร ให้คำแนะนำที่ผิดๆ ฯลฯ

 

ผู้ที่ขออยู่ร่ำไปมักจะมีชีวิตที่ไม่มีความหมาย  ตัวอย่างเช่น ขอทานบางคนซึ่งไม่ได้แขนขาพิการแต่กลับถือขันใบแล้วขอเงินจากคนอื่นไปเรื่อยๆ นับว่าเป็นการดูถูกดูแคลนตัวเองเป็นอย่างมาก  เคยคิดถามอยู่เหมือนกันว่าทำไมไม่ไปหางานทำ?  ขอทานอีกประเภทหนึ่งมีระดับขึ้นมาหน่อยเพราะต้องร้องเพลงเล่นดนตรีเพื่อแลกกับเศษเงินของผู้ที่ผ่านไปผ่านมา  เรียกได้ว่ามีการตลาดที่ดีขึ้นเพราะเป็นการให้ผู้อื่นก่อนนั่นคือเสียงเพลงเสียงดนตรี (ซึ่งบางครั้งอาจจะสร้างความรำคาญให้กับบางคน)  แล้วค่อยหวังผลตอบแทนกลับมา  นั่นคือต้องลงทุนก่อน ให้ก่อนแล้วจึงค่อยมีกำไร

 

ผู้ที่ขออยู่เป็นประจำมักเป็นทุกข์เพราะขอแล้วมักจะต้องเป็นหนี้ของคนอื่น เช่น การขอยืมเงิน  บางคนมีความสามารถในการยืมเงินได้มากเพราะพูดจามีวาทศิลป์สมารถโน้มน้าวใจผู้ฟังให้คล้อยตาม  และมีคนสงสารเห็นใจจึงสามารถหยิบยืมเงินจากใครต่อใครได้มากมาย  แต่เมื่อเป็นหนี้มากความทุกข์ก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว  การบนบานก็เป็นการขออีกชนิดหนึ่ง  เช่น  ขอให้ลูกช้าง........

มหัศจรรย์แห่งการให้ (ตอนที่ 1)

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

krukrub Icon ธรรมะกับการเรียนรู้ 1 อ่าน 580 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
krukrub Icon เกร็ดธรรมะ อ่าน 1,333 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
krukrub Icon มหัศจรรย์แห่งการให้ (ตอนที่ 1) อ่าน 1,281 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
krukrub Icon มหัศจรรย์แห่งการให้ (ตอนที่ 2) อ่าน 1,496 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
krukrub Icon มนุษย์คอมพิวเตอร์ (Computerman) อ่าน 1,109 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา
krukrub Icon สมดุลแห่งคิด พูด ทำ อ่าน 941 10 ปีที่ผ่านมา
10 ปีที่ผ่านมา