สาระน่ารู้เกี่ยวกับ ระเบียบ กฎหมาย วินัยข้าราชการ

uttaradit profile image uttaradit

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ ระเบียบ กฎหมาย วินัยข้าราชการ

การปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือน ผู้บังคับบัญชาอาจมอบหมายให้

ทำหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่หลัก ตัวอย่างเช่น กรณีได้รับคำสั่ง

แต่งตั้งให้ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือทำหน้าที่คณะกรรมการชุดต่างๆ ตามระเบียบสำนัก

นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในทางปฏิบัติจะต้อง

ดำเนินการอย่างไรในส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงจะถือว่าปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ

ของทางราชการ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติราชการในส่วน

ภูมิภาคสอบถามทางโทรศัพท์ การชี้แจงให้ข้อมูลข้อเสนอแนะจึงเป็นการเจาะจงเฉพาะ

ตัวบุคคล และอาจได้รับคำตอบที่ไม่ครบถ้วนเนื่องจากการสื่อสารห่างกัน โดยระยะทางอาจ

เกิดการผิดพลาดในความเห็นหรือความเข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้จึงขอนำมาเสนอในรูปของ

ข้อเขียนเพื่อความครบถ้วนในประเด็นปัญหาและความเห็นที่ถูกต้องตรงกัน

การได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่พัสดุ และ/หรือทำหน้าที่คณะกรรมการ

ชุดต่างๆ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.. 2535 และที่แก้ไข

เพิ่มเติม นั้น ถือเป็นภาระอันยิ่งใหญ่สุ่มเสี่ยงต่อการปฏิบัติผิดพลาดคลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้อง

เพราะมีรายละเอียดในทางปฏิบัติมากและยุ่งยากในการเข้าใจ หากผู้ปฏิบัติขาดประสบการณ์

ก็จะปฏิบัติงานไปโดยไม่ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เกิดความชัดเจน

จึงขอนำเสนอประเด็นข้อเท็จจริงในการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย

การพัสดุ พ.. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ไม่ถูกต้อง และหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ

ให้ดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่พัสดุ

ประเด็นที่ 1

นางสาวสวย ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ มีหน้าที่รับผิดชอบ

ควบคุมดูแล จัดทำหลักฐานการเผยแพร่ และการปิดประกาศประกวดราคา ซึ่งจะต้อง

จัดทำหลักฐานการจัดส่งประกาศประกวดราคาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยัง 5 หน่วยงาน

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 45

ที่กำหนดให้การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคาให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการเผยแพร่

การประกวดราคาโดยส่งไปประกาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและ / หรือประกาศใน

หนังสือพิมพ์, ส่งให้กรมประชาสัมพันธ์และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, ส่งไป

เผยแพร่ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาของทางราชการ, ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

หรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยงานตามที่ระเบียบกำหนด

แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหน่วยงานเหล่านั้นไม่ได้รับประกาศประกวดราคา ต่อมามีการ

ตรวจสอบจากหน่วยงานตรวจสอบ พบว่า นางสาวสวย จัดทำหลักฐานเท็จในการจัดส่ง

ทางไปรษณีย์ มีความเห็นให้ดำเนินการทางวินัย เพราะไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ

และให้ดำเนินการทางคดีอาญา ต่อมาคณะกรรมการสอบสวนของส่วนราชการดำเนินการ

สอบสวนหาผู้กระทำความผิดทางวินัย ผลการสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า นางสาวสวย

ไม่ได้จัดทำเอกสารเท็จ แต่จัดส่งเอกสารไม่ครบถ้วน เป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ โดยไม่

ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งยังไม่ทำให้ราชการเสียหาย จึงเสนอผู้บังคับบัญชาว่า

นางสาวสวย ทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษภาคทัณฑ์ แต่มีเหตุอันควรงดโทษ จึงให้

ว่ากล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรแทนการลงโทษ เพราะไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน

ข้อสังเกต

1. การกระทำของ นางสาวสวย ซึ่งไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ว่าด้วยการพัสดุ พ.. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง

เป็นความผิดเล็กน้อย ให้ลงโทษภาคทัณฑ์ แต่ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนเป็นเหตุสมควร

งดโทษทางวินัย เปลี่ยนการลงโทษเป็นการว่ากล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น

แม้ นางสาวสวย ไม่ถูกลงโทษทางวินัยใดๆ แต่กรณีเช่นนี้ถือว่า นางสาวสวย กระทำ

ความผิดตามกฎหมายแล้ว และมีการบันทึกการกระทำตามคำสั่งว่ากล่าวตักเตือนไว้ในสมุด

ทะเบียนประวัติ

2. การจัดส่งประกาศประกวดราคาไปยังหน่วยงานต่างๆ ต้องจัดทำให้ครบ

ทุกหน่วยงานตามที่ระเบียบกำหนด ยกเว้นระเบียบใช้คำว่า หรือให้เลือกหน่วยงาน

ในข้อนั้นได้ หากปรากฏว่า นางสาวสวย ทำหลักฐานการจัดส่งไปรษณีย์โดยไม่เป็นไปตาม

ความจริง กล่าวคือ จัดทำหลักฐานการส่งทางไปรษณีย์ขึ้นเองโดยไม่ผ่านเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์

นางสาวสวย อาจถูกดำเนินคดีอาญา ฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ และศาลมี

คำพิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญาได้ และถ้าคดีถึงที่สุดให้จำคุกถือว่าเป็นความผิด

วินัยอย่างร้ายแรง ถูกลงโทษไล่ออก ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

.. 2551 มาตรา 85 (6)

3. กรณีถ้า นางสาวสวย เคยกระทำความผิดมาก่อน หรือเป็นการกระทำ

ความผิดในลักษณะเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็อาจถูกลงโทษหนักขึ้นถึงขั้นลดเงินเดือนหรือ

ตัดเงินเดือน ได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2551 เรื่องวินัย และ

การรักษาวินัย

มาตรา 82 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติ

ดังต่อไปนี้

(2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ

ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบ

แบบแผนของทางราชการ

มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิด

วินัยอย่างร้ายแรง

() กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนัก

กว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่

เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

2. ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร

มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.. 2535

ข้อ 10 ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่ง

ผู้ใด กระทำการใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือกระทำ

การโดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำ การโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่

รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ให้มีการขัดขวาง

การแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ถือว่าผู้นั้นกระทำ ผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ

ข้าราชการหรือตามกฎหมายเฉพาะของส่วนราชการนั้น ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้

() ถ้าการกระทำ มีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการ

เสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำปลดออกจากราชการ

() ถ้าการกระทำ เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายแต่ไม่ร้ายแรง

ให้ลงโทษอย่างต่ำตัดเงินเดือน

() ถ้าการกระทำ ไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย ให้ลงโทษ

ภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร

การลงโทษทางวินัยตาม () หรือ () ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดพ้น

จากความรับผิดในทางแพ่งตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้อง หรือความ

รับผิดทางอาญา (ถ้ามี)

ประเด็นที่ 2

นายบี ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้รับแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำหน้าที่

เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง ตามสัญญาจ้างปลูกหญ้าแฝก ในวงเงินหนึ่งแสนบาท เมื่อผู้

รับจ้างส่งมอบงาน นายบี ร่วมกับคณะกรรมการอื่นอีก 2 คน ตรวจรับงานโดยจดบันทึก

ไว้ในใบตรวจรับงานว่างานถูกต้องครบถ้วน สมควรจ่ายเงินตามสัญญา ต่อมาชาวบ้านได้ทำ

หนังสือร้องเรียนว่า นายบี ตรวจรับงานไว้ไม่ถูกต้องเพราะการปลูกหญ้าแฝกไม่ครบถ้วน

ตามสัญญา นายบี ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผลการสอบสวนปรากฏว่า นายบี ตรวจรับ

งานไว้ไม่ถูกต้องตามข้อร้องเรียน เป็นกรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของทางราชการ

และไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ตามมาตรา 82 (2) (3) ให้ลงโทษ นายบี และ

กรรมการอีก 2 คน ฐานกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน

และให้ร่วมกันคืนเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาท เนื่องจากผู้รับจ้างปลูกหญ้าแฝกไม่ครบถ้วน

ตามสัญญา

ข้อสังเกต

1. การกระทำของ นายบี และคณะกรรมการตรวจการจ้าง มีความผิด

เพราะไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.. 2535 และที่แก้ไข

เพิ่มเติม ข้อ 72 นอกจากนี้การที่ นายบี และคณะกรรมการตรวจการจ้างจัดทำรายงาน

ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง อีกทั้งมิได้รายงานความจริงให้ผู้บังคับบัญชาทราบ มีพฤติกรรมส่อว่า

เป็นการอื้อประโยชน์แก่ผู้รับจ้างให้ได้รับค่างานโดยมิชอบ และทำให้ทางราชการเสียหาย

2. จัดทำรายงานตรวจรับการจ้าง โดยรู้ว่าไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง

ในกรณีเช่นนี้ นายบี กระทำการรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการ

รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2551

มาตรา 83 (1) และหากมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายบี ปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อแสวงหา

ผลประโยชน์สำหรับตนเองโดยมิชอบ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต เป็นความผิด

วินัยอย่างร้ายแรงต้องรับโทษสถานหนัก ตามมาตรา 85 (1)

3. นายบี ต้องรับโทษทางวินัยและต้องรับผิดชดใช้ค่างานที่จ่ายให้ผู้

รับจ้างไม่ถูกต้องอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กับทางราชการ เพราะเป็น

เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ในการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นความผิดตาม

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2551

มาตรา 82 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อ

ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ

ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบ

แบบแผนของทางราชการ

() ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้า

แก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ

มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็น

ข้อห้าม ดังต่อไปนี้

() ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดย

ปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย

มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิด

วินัยอย่างร้ายแรง

() ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ

เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

ราชการโดยทุจริต

2. ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้

(1) “โดยทุจริตหมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้

โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

3. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539

มาตรา 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อ หน่วยงาน

ของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการ

ปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้

บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติ หน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตาม

วรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่ หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัว

เจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐ เห็นว่าเจ้าหน้าที่

ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้อง

ค่าสินไหมทดแทนนั้นมี กำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตาม

ความเห็นของกระทรวงการคลัง

เรียบเรียงโดย

นายทรงวิทย์ ลิ่มจุฬารัตน์

ส่วนวินัย กองการเจ้าหน้าที่__


สาระน่ารู้เกี่ยวกับ ระเบียบ กฎหมาย วินัยข้าราชการ

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

uttaradit Icon GPS ตามที่กรมการขนส่งกำหนด อ่าน 986 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา