หมอนรองกระดูกทับเส้นเป็นอย่างไร

uttaradit profile image uttaradit

หมอนรองกระดูกทับเส้นเป็นอย่างไร

 

 

พัชรินทร์ อินมูล แพทย์แผนไทย

 

                โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นเป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนคงเคยได้ยินมา และสิ่งที่ผู้คนขยาดมันก็เพราะได้ยินมาว่าการรักษา คือการผ่าตัด ทุกคนกลัวการผ่าตัด (ขนาดหมอเองก็ยังไม่อยากถูกผ่าตัดเลย) โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นคืออะไร เป็นยังไงกันแน่ วันนี้มีคำอธิบายค่ะ

                หมอนรองกระดูกที่ว่านี้อยู่ที่กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังเราเป็นชิ้นๆมาเรียงต่อกัน เหมือนที่เห็นในโฆษณานมผสมแคลเซียมทั้งหลาย หรือเหมือนโครงกระดูกไดโนเสาร์ในพิพิธภัณฑ์ ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นนั้นจะมี "หมอนรองกระดูก"อยู่ หน้าตาคล้ายๆเยลลี่หนึบๆมันช่วยไม่ให้กระดูกสันหลังของเราเสียดสีกันเวลาเราขยับ แล้วก็กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นจะมีรูทะลุอยู่ เวลาเอามาต่อกันรูนี้จะตรงกัน เอาไว้เป็นท่อให้"เส้น" วิ่งผ่าน ส่วน"เส้น" นี้คือไขสันหลัง ไขสันหลังคือเหล่าบรรดาเส้นประสาทจากทั่วร่างกายที่มารวมกัน เพื่อเดินทางสู่สมอง เหมือนสายไฟที่ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิ่งไปสู่ปลั๊กไฟยังไงอย่างงั้น ไขสันหลังเนี๊ยวางอยู่ในท่อของกระดูกสันหลัง (หวังว่าที่เล่ามาจะพอนึกภาพออกนะคะ)

herniated disc, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท,diary doctor is me, สิ่งที่คุณไม่รู้ แต่หมออยากให้คุณรู้

Source : mountainviewpaincenter.com

                ทีนี้ปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นเกิดจากการที่เจ้าเยลลี่(หมายถึงหมอนรองกระดูก) ที่ปกติจะ   ไม่มายุ่งกับท่อของกระดูกสันหลัง โดยมีเส้นเอ็นยึดไว้ วันดีคืนดีเส้นเอ็นนี้เกิดอ่อนแรง หรือฉีกขาด เจ้าเยลลี่ก็ปลิ้นออกมาทับสายไฟ(ไขสันหลัง)บางส่วน ไขสันหลังของเราไม่มีปลอกหุ้มเหมือนสายไฟนะคะ        เป็นแบบลวดเปลือยๆ สายไฟที่โดนเยลลี่(หมอนรองกระดูก)ก็เกิดปัญหาทำงานไม่ได้ขึ้นมา สายไฟเส้นไหนมาจากส่วนไหนของร่างกาย ส่วนนั้นก็จะเกิดอาการเลยค่ะ เริ่มแรกเราก็จะรู้สึก ปวดๆ แป๊บๆ ไปตามเส้นประสาทที่ถูกกด ต่อมาก็อาจจะชา แล้วก็เริ่มอ่อนแรงไป เพราะเส้นประสาทเหล่านั้นทำหน้าที่สั่งงานกล้ามเนื้อด้วย ส่วนจะเป็นตรงไหนบ้างก็แล้วแต่ว่าเจ้าเยลลี่ที่ปริ้นออกมาอยู่ที่กระดูกสันหลังระดับไหนของร่างกาย

สรุปลักษณะอาการ ส่วนใหญ่หมอนรองกระดูก (เยลลี่) ที่ปริ้นออกมามักเป็นบริเวณที่ขยับเยอะ ซึ่งมี 2 บริเวณคือ คอ กับเอว บางคนถ้าเป็นนิดเดียว ไม่ถึงกับทับเส้นก็จะไม่มีอาการ ส่วนถ้าทับเส้นขึ้นมาก็จะมีอาการนะคะ

                ถ้าเป็นที่เอวส่วนใหญ่จะบอกได้ว่าอาการเริ่มเกิดเมื่อไหร่ ส่วนใหญ่จะเป็นการก้มๆเงยๆ บางคนจำได้เลยว่าเริ่มเป็นตั้งแต่ก้มลงยกของวันนั้นวันนี้ หลังจากนั้นก็มีอาการชาไปตามขาบางคนเป็นข้างเดียว บางคนเป็นสองข้าง โดยที่อาการชาจะชาไปตามขา"ด้านหลัง" ยาวตั้งแต่ต้นขาไปถึงข้อเท้าเลยทีเดียว (ส่วนใหญ่ถ้าถึงแค่เข่า หรือต้นขา จะเป็นอาการของโรคอื่นนะคะ) เป็นอาการชาๆ หรือเจ็บแป๊บๆ นอกจากนี้อาจปวดเวลาเดินมากๆ หรือเดินลงเนิน นั่งลงหยุดพักแล้วอาการดีขึ้น ส่วนอาการปวดหลังอาจจะมี หรือไม่มีร่วมด้วยก็ได้ค่ะ

                ส่วนถ้าเป็นที่คอ อาจจะมีอาการคล้ายๆกัน แต่เป็นกับแขน อาจเป็นข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ค่ะ

ถ้ามีอาการทำยังไงดี??ก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็ก เพื่อดูว่ามีหมอนรองกระดูกทับเส้นจริงๆมั้ยนะคะ

การรักษา
                โดยปกติแล้วหมอนรองกระดูกที่ปริ้นออกมา จะสามารถหดตัวลงเองได้เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นตอนแรกก็ยังไม่ต้องผ่าตัดหรอกค่ะ คนไข้มีอาการดีขึ้นเองได้ในประมาณ 4-6 สัปดาห์ ช่วงแรกก็จะให้รับประทานยาแก้ปวด ร่วมกับกายภาพบำบัด จะมีการออกกำลังกายสำหรับหมอนรองกระดูกทับเส้น เพื่อลดอาการปวด และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยโรคนี้ได้นะคะ ท่าออกกำลังกายก็จะคล้ายๆท่าโยคะ อย่างท่าไหว้พระอาทิตย์ ขอไม่เล่ารายละเอียดแล้วกันนะคะ เมื่อไปพบแพทย์ก็จะได้ไปพบนักกายภาพบำบัดที่จะแนะนำให้อีกทีค่ะ

                ส่วนการผ่าตัด ซึ่งคนไข้ส่วนน้อยที่จะมาถึงจุดนี้ โดยการผ่าตัดจะทำเมื่อการรักษาที่เล่ามาในช่วงแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเป็นเยอะมากจนถึงขั้นยืนไม่ได้เดินไม่ได้ อันนี้การกายภาพอย่างเดียวคงไม่สามารถช่วยให้อาการหายได้ จำเป็นต้องผ่าตัดนะคะ สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงไว้ หากจำเป็นต้องผ่าตัด คือควรทำให้เร็วที่สุด ถ้าเราเป็นมาก แสดงว่าเส้นประสาทถูกทับเยอะ และบางเส้นถึงกับทำงานไม่ได้แล้ว การผ่าตัดแค่ไปเอาหมอนรองกระดูกที่กดเส้นประสาทออก แต่ถ้าทิ้งไว้นานโอกาสที่เส้นประสาทที่ถูกทับจะฟื้นกลับมาเหมือนเดิมก็ยิ่งน้อยลงนะคะ ถ้าคุณหมอที่ไปพบแนะนำว่าต้องผ่าตัด และเรามีโรคประจำตัวไม่มาก ไม่ค่อยเสี่ยงต่อการผ่าตัด ก็อย่าปฏิเสธคุณหมอเลยค่ะ

                จบเรื่องโรคหมอนรองกระดูก ขอให้ทุกท่านมีความสุขปราศจากโรคภัยนะคะ

 

 

 

 

ความคิดเห็น

ประกาศล่าสุดในบอร์ดเดียวกัน

uttaradit Icon GPS ตามที่กรมการขนส่งกำหนด อ่าน 909 8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา
8 ปีที่ผ่านมา